KU-Casing : ไส้บรรจุต้านเชื้อและกันหืนจากธรรมชาติ

ดร.จุฑามาศ ทันตะละ และ ผศ.ดร.จิตศิริ ราชตนะพันธุ์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มก.
โทร. 0-2562-5000 E-mail: chitsiri.t@ku.th

Read more

ไส้บรรจุไส้กรอกต้านจุลินทรีย์

ผศ.ดร. จิตศิริ ราชตนะพันธุ์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าคุณสมบัติของไคโตซานมีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และยังสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้นานขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะนำคุณสมบัติการยับยั้งจุลินทรีย์ของโคโตซานมารวมกับไส้บรรจุไส้กรอก เพื่อผลิตไส้บรรจุต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial casing) โดยวิธีการอัดแพร่แบบสุญญากาศ (Vacuum Impregnation ) เพื่อผลักให้สารไคโตซานเคลื่อนที่เข้าไปในไส้บรรจุไส้กรอก เป็นไส้บรรจุที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ภายหลังการให้ความร้อนหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนบนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไส้บรรจุ เช่น ไส้กรอกอิมัลชัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในอาหารแปรรูปพร้อมบริโภค

Read more

การใช้ขมิ้นและไคโตซานเป็นสารตกแต่งในสิ่งทอเพื่อต้านจุลินทรีย์และป้องกันรังสียูวี

ด้วยเหตุนี้ผศ.ดร.จันทร์ทิพย์ เศรษฐยานนท์ (ซื่อสัตย์) และผศ.ดร.พรทิพย์ แซ่เบ๊ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับ ดร.พจนารถ สุวรรณรุจิ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ร่วมกันทำการศึกษาหาแนวทางการพัฒนาสารตกแต่งสำเร็จที่มาจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยนำขมิ้นและไคโตซานมาใช้เป็นสารตกแต่งบนผ้าฝ้ายและผ้าพอลิเอสเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีสมบัติพิเศษด้านการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตและจุลินทรีย์

Read more

เทคโนโลยีรักษาคุณภาพและยืดอายุหน่อไม้ฝรั่งโดยไม่ใช้สารเคมี

ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ โพธิ์อุบล อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยวิธีที่จะช่วยรักษาคุณภาพ ยืดอายุในการวางจำหน่าย หรือระหว่างการขนส่ง โดยลดการปนเปื้อนหรือการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อ อีโคไล และ ซาลโมเนลลา เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีหรือการเน่าเสียของหน่อไม้ฝรั่ง โดยไม่ใช้สารเคมี ด้วยแนวคิดการใช้สารเคลือบผิวชนิดที่รับประทานได้ (editable coating) ได้แก่ สารเคลือบผิวไคโตซาน

Read more

รายการวิทยุ เรื่อง การใช้ไคโตซานเป็นสารก่อจับก้อนเพื่อบำบัดน้ำเสีย

ผลงานของ รศ.ดร.พัฒนา อนุรักษ์พงศธร ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในผลงานวิจัยเรื่อง การใช้ไคโตซานเป็นสารก่อจับก้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม

Read more

นวัตกรรม พลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมจากพืช

ผศ.ดร.รังรอง ยกส้าน จากภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนา การผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับพลาสติกแตกสลายได้ทางชีวภาพชนิดอื่นที่มีความเป็นไฮโดรโฟบิกสูงกว่าหรือมีความไม่ชอบน้ำมากกว่า

Read more

การปรับปรุงอิเล็กโทรดด้วยไคโตซาน

จากแนวคิดการเติมพอลิเมอร์ที่นำโปรตอนได้เข้าไปในช่องว่างระหว่างอนุภาคคาร์บอนแบล็กนี้เอง ผศ.ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการวิจัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของอิเล็กโทรดให้ดีขึ้น โดยการห่อหุ้มคาร์บอนแบล็กที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยไคโตซานที่สามารถเชื่อมขวางระหว่างสายโซ่

Read more

การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตนมด้วยไคโตซาน

จากของเหลือทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล อาทิ เปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนใสของปลาหมึก นำมาใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตสารไคโตซาน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม แทนการใช้สารเคมี และยังได้ตะกอนจากการบำบัดเป็นผลพลอยได้ ที่สามารถนำไปเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ได้

Read more

การผลิตน้ำยางพาราไร้สารโปรตีนก่อภูมิแพ้

น้ำยางธรรมชาติ จากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อยาง ซึ่งเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน เป็นอนุภาคแขวนลอยในน้ำ และส่วนที่ไม่ใช่ยาง เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอมิโน และองค์ประกอบอื่นๆ โดยในส่วนประกอบของอนุภาคยางจะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 1 % ในขณะที่มีรายงานการแพ้สารโปรตีนเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลที่ใช้ผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง โดยพบชนิดของโปรตีนก่อภูมิแพ้และพบว่าสารโปรตีนที่มีมากเกิน 0.1 % เป็นสาเหตุของอาการภูมิแพ้

Read more

การใช้สารไคโตซานร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเพาะเลี้ยงข้าวขาวดอกมะลิ 105

“ข้าว” เป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ ข้าวนอกจากจะเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกทางการเกษตรที่สำคัญ จากข้อมูลปี 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าว 8.5 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 4,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังพบปัญหาชาวนาขาดทุนจากการปลูกข้าวทุกปีอย่างต่อเนื่อง

Read more