ลูกชิ้นหมูเสริมใยอาหารจากกากข้าวโพด

นางสาวสุวีณา จันทพิรักษ์ และทีมนักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภัคชนม์ คลองดี นางสาวบงกชมาศ โสภา และนายนิพัฒน์ ลิ้มสงวน จึงทำการศึกษาการสกัดใยอาหารจากกากข้าวโพด ที่เป็นของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำนมข้าวโพด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ลูกชิ้น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับผลิตภัณฑ์ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เพื่อทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นทางเลือกและเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพด และพัฒนาคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเสริมใยอาหาร ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

Read more

การเก็บรักษามะขามเปียกเพื่อการส่งออก

รศ.ดร.สุรัสวดี พรหมอยู่ และผศ.ดร.อรัญญา พรหมกูล จากภาควิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนสีเนื้อมะขามที่เป็นสีดำคล้ำระหว่างการเก็บรักษา โดยหาวิธีการลดหรือชะลอหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงอาการดังกล่าวให้มะขามเปียกมีคุณภาพด้านสีเป็นที่ยอมรับของตลาด โดยการไม่ใช้ห้องเย็นเพื่อเป็นการลดต้นทุนการเก็บรักษาสินค้า

Read more

การใช้ผงถั่วในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมลดไขมัน

ทีมนักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภัคชนม์ คล่องดี นางสาวสุวีณา จันทพิรักษ์ นายนิพัฒน์ ลิ้มสงวน นางสาวกัษมาพร ปัญต๊ะบุตร และ นายวรพล เพ็งพินิจ จึงมีแนวคิดในการนำคุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติของโปรตีนในถั่ว มาปรับปรุงคุณสมบัติความเป็นอิมัลซิฟายเออร์ด้วยกระบวนการเอกซ์ทรูชันร่วมกับเพคติน และศึกษาถึงความสามารถของผงถั่วต่อคุณสมบัติของไอศกรีมลดไขมัน

Read more

การพัฒนาเรือพลังงานสะอาด

ผศ.ดร.ยอดชาย เตียเปิ้น จากภาควิชาวิศวกรรมทางทะเล คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกดษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และทีมนักวิจัย จึงได้ร่วมกันทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาเรือพลังงานสะอาดโดยการใช้พลังงานไฟฟ้า สำหรับให้บริการรับส่งผู้โดยสารในคลองแสนแสบ เพื่อทดแทนเรือเครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Read more

การผลิตเส้นใยนาโนเพื่อประยุกต์ใช้เป็นผ้าปิดแผล

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ และทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาทางลดปัญหาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเส้นใยนาโน โดยการสร้างระบบการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้าสถิต (electrospinning) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตเส้นใยนาโนที่ไม่มีความซับซ้อนของเครื่องมือเมื่อเทียบกับวิธีอื่น เพื่อใช้ผลิตเส้นใยนาโนจากพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ และทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพของเส้นใยนาโนที่ผลิตได้กับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ต่อไป

Read more

การสร้างแอนติบอดีไข้หวัดใหญ่โดยเทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบ

ผศ.ดร.จักร แสงมา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากแอนติบอดีลอกแบบ ที่มีความจำเพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพสูง สามารถทดสอบหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น เพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการตรวจ รวมทั้งลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก

Read more

ยกระดับผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้พันธุ์ไทยสู่มาตรฐานสากล

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.วิน เชยชมศรี รศ.ดร.จินดาวรรณ สิรินทวิเนติ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และดร.สุดาวรรณ เชยชมศรี จากคณะเกษตร กำแพงแสน จึงมีแนวความคิดในการศึกษาเรื่องระบบภูมิคุ้มของจระเข้อย่างจริงจัง จนพบว่า เลือดของจระเข้มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทานแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารในหนูทดลอง เสริมสร้างฮีโมโกบิลของหนูที่มีสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และช่วยให้หนูมีค่าฮีโมโกบิลในเลือดสูงขึ้นภายใน 4 สัปดาห์

Read more

เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อพลังงานสีเขียว

ดร.พงษ์ศักดิ์ เฮงนิรันดร์ และคณะนักวิจัย จากภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ BlacK Pellet เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพอีกประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงดีกว่าไม้พลังงาน ชิ้นไม้สับ (wood chip) และเชื้อเพลิงอัดเม็ด (wood pellet) โดยพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบในการใช้พลังงานสีเขียวเบื้องต้นอย่างครบวงจร เนื่องจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสถานีฝึกนิสิตที่มีความร่วมมือกับชุมชนอยู่แล้วในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จึงทำการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ชีวมวลที่มีอยู่ในพื้นที่ร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม

Read more

เทคโนโลยีสีเขียว 3 : สารเคลือบนาโนกันน้ำและต้านเชื้อรา

ผศ.ดร.วรรณวิมล ปาสาณพันธ์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำการศึกษาหากระบวนการในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารเติมแต่งสำหรับสารเคลือบผิววัสดุ หรือสีทาวัสดุ รวมถึงซีเมนต์ เพื่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โดยใช้เทคโนโลยีสีเขียวในกระบวนการสังเคราะห์อนุภาคนาโน ด้วยตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับการลดและหลีกเลี่ยงของเหลือทิ้งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ

Read more

เทคโนโลยีสีเขียว2 : ปุ๋ยนาโนอัจฉริยะ

ผศ.ดร.วรรณวิมล ปาสาณพันธ์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงมีแนวคิดในการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเกษตรโดยการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ด้วยการใช้ไคโตซานนาโนเจลโครงร่างตาข่ายที่มีคุณสมบัติในการตรึงไอออนของธาตุไนโตรเจน สำหรับใช้เป็นระบบควบคุมการดูดจับและควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยเคมี

Read more