เรื่องกล้วยๆ กล้วยพันธุ์ปากช่อง KU46 – จากแฟ้มงานวิจัย มก. (PODCAST)

สถานีวิจัยปากช่อง ได้ทำการปรับปรุงสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าลูกผสมพันธุ์ใหม่ ลักษณะทรงต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร รอบวงลำต้น 80-100 เซนติเมตร ผลผลิตปานกลาง น้ำหนักเครือประมาณ 20-30 กิโลกรัม จำนวนหวี 8-10 หวี ลักษณะผลสั้น ค่อนข้างกลม ขนาดผลใหญ่สม่ำเสมอ เมื่อผลสุกเนื้อสีเหลืองอมส้ม เนื้อแน่นเหนียวนุ่ม

Read more

นวัตกรรมใหม่น้ำแข็งทะเลโอโซน – จากแฟ้มงานวิจัย มก. (PODCAST)

นวัตกรรมใหม่น้ำแข็งทะเลโอโซน เพิ่มความสดอาหารทะเล-สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน ผู้ให้สัมภาษณ์ – นายเดชา ดวงนามล หัวหน้าสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน – นางสาวรติวรรณ มีทอง นักวิทยาศาสตร์ระดับปฏิบัติการ สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน

Read more

การศึกษาเชื้อราในการควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้าว/ชุรภา ธีรภัทรสกุล

เรื่อง การศึกษาเชื้อราในการควบคุมหนอนด้วงแรดมะพร้าว เมื่อย้อนไปในปี 2554 ครั้งที่น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย ในจังหวัดปทุมธานีก็ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขังอย่างหนัก ปัญหาหนึ่งที่ตามมาหลังจากน้ำลดลงแล้วก็คือ มีราเจริญขึ้นมากมายตามอาคารบ้านเรือนและสิ่งของ กลุ่มนักวิจัยของ รศ.ดร.เลอลักษณ์ จิตรดอน ที่ปรึกษาโครงการวิจัยนี้ และ ดร.ชุรภา ธีรภัทรสกุล หัวหน้าโครงการวิจัย ได้ทำการเก็บตัวอย่างราที่เจริญหลังน้ำท่วม จากอาคารและสิ่งของต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อนำมาคัดแยกและจัดจำแนกชนิดของรา

Read more

การศึกษาคุณสมบัติของผงถั่วชนิดต่างๆ ร่วมกับเพคตินในไอศกรีม/สุภัคชนม์ คล่องดี

  การศึกษาคุณสมบัติของผงถั่วชนิดต่างๆ ร่วมกับเพคตินในไอศกรีม   ผลกระบวนการเอกซ์ทรูชันต่อคุณสมบัติทางกายภาพและลคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผงถั่วชนิดต่างๆ ร่วมกับเพคตินในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมลดไขมัน หัวหน้าโครงการโดย คุณสุภัคชนม์ คล่องดี ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มก. ถั่วเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และสามารถนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างหลากหลาย อาทิเช่น การนำมาบริโภคโดยตรงหรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยในปัจจุบันได้มีการนำถั่วและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วมาใช้ในอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากถั่วมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น โปรตีน

Read more

ความคงตัวสารให้กลิ่นใบมะกรูดด้วยสตาร์ช เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร/รศ.ดร.วรรณี จิรภาคย์กุล

ความคงตัวสารให้กลิ่นใบมะกรูดด้วยสตาร์ช เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร สารให้กลิ่นส่วนใหญ่เป็นสารระเหย เมื่ออาหารผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ ตลอดจนระหว่างการเก็บรักษามักทำให้เกิดการสูญเสียของกลิ่นรส การกักเก็บสารให้กลิ่นจะช่วยป้องกันผลิตภัณฑ์จากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันจากออกซิเจน แสง ความร้อน รวมทั้งลดความสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงของสารให้กลิ่นระหว่างการแปรรูปและการเก็บรักษา ทำให้สามารถคงคุณภาพของสารให้กลิ่นและสามารถเก็บรักษากลิ่นได้นานขึ้น การนำสารให้กลิ่นของใบมะกรูดที่กักเก็บด้วยสตาร์ช ซึ่งสามารถสกัดจากพืชชนิดต่างๆ อย่างเช่น ธัญพืช พืชหัวและรากพืชทำให้มีความคงตัวของกลิ่นเพิ่มขึ้น ไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่มีการใช้ใบมะกรูดเป็นวัตถุดิบในการช่วยให้กลิ่นรสมีคุณภาพด้านกลิ่นที่ดีขึ้นกว่าเดิม   เรียบเรียง : วิทวัส

Read more

เครื่องดื่มธัญพืชเพื่อสุขภาพ/พัทธินันท์ วาริชนันท์

เครื่องดื่มธัญพืชเพื่อสุขภาพ  ปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากตลาดอาหารเสริมสุขภาพที่มีการขยายตัวกันอย่างรวดเร็ว โครงการวิจัยนี้เป็นการหาศักยภาพการเป็นโปรไบโอติกของแลคติกแอซิคแบคทีเรียจากผักดองพื้นบ้านโดยได้รับการสนับสนุนทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่ามีเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียจากผักดองพื้นบ้าน 2 สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ Lactobacillus plantarum SFCB2-7 และ Lactobacillus rhamnosus ATCC 7469 ที่มีศักยภาพการเป็นโปรไบโอติก เพื่อเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญพืช โดยการนำเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียผสมลงไป

Read more

การศึกษาการตกแต่งผ้าไหมด้วยสมุนไพรไทย/ผุสดี แซ่ลิ่ม

เรื่อง  การศึกษาการตกแต่งผ้าไหมด้วยสมุนไพรไทย โดยสารประกอบเชิงซ้อนเบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน   การตกแต่งสำเร็จ เป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยทำให้สิ่งทอมีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริโภค หรือเพิ่มคุณสมบัติให้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการตกแต่งสำเร็จเป็นขั้นตอนสุดท้ายในอุตสาหกรรมกลางน้ำอันประกอบไปด้วย กระบวนการถักทอ การฟอกย้อม การพิมพ์และการตกแต่งสำเร็จผ้า การตกแต่งสำเร็จโดยใช้เบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปถ้วยเป็นตัวยึดเหนี่ยวให้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรติดกับผ้าไหม น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากสมุนไพรไทยมีสมบัติที่หลากหลายเช่น ช่วยผ่อนคลายความกังวล ไล่แมลง ยับยั้งแบคทีเรีย เป็นต้น งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิธีการใช้เบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน

Read more

นาฬิกาอัจฉริยะเตือนภัยแก๊สพิษ/ชัชวาล วงศ์ชูสุข

เรื่อง นาฬิกาอัจฉริยะเตือนภัยแก๊สพิษ จากที่พบข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เมื่อสตาร์ทรถทิ้งไว้ แล้วนอนอยู่ในรถ บ่อยครั้งที่เผลอหลับไป อาจทำให้เสียชีวิต จากการวิเคราะห์ เกิดจากแก๊สพิษ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ที่รั่วไหลไปยังห้องโดยสาร แก๊สพิษชนิดนี้ไม่มีสี กลิ่น ทำให้ยากที่จะรับรู้ หรือบางเหตุการณ์ที่เกิดจากบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือสถานที่หมักแก๊สต่างๆ สามารถพบแก๊สพิษได้ เมื่อได้รับในปริมาณที่มากอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าสภาพแวดล้อมที่เราอยู่มีแก๊สพิษปะปนอยู่ อาจารย์จึงได้คิดค้นนวัตกรรมที่สามารถพกพาได้

Read more

ยีสต์สปีชีส์ใหม่จากหญ้าแฝก/สาวิตรี ลิ่มทอง

เรื่อง ยีสต์สปีชีส์ใหม่จากหญ้าแฝก ยีสต์จำนวนมากที่กระจายตัวอยู่ตามแหล่งธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะในเขตร้อนอย่างเช่นประเทศไทยของเรานี้ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ แหล่งที่อยู่ของยีสต์ส่วนใหญ่มักต้องมีสารประกอบอินทรีย์ในปริมาณที่สูง รวมทั้งน้ำและความชื้นสูง ศ.สาวิตรี ลิ่มทอง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยความหลากหลายของยีสต์ในแหล่งธรรมชาติของประเทศไทยเริ่มเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการศึกษา แบสิดิโอมัยซีตัสยีสต์ (basidiomycetous yeast) พวกที่สร้าง

Read more

การใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ในกระบวนการอบแห้งฟักทอง/เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล

เรื่อง การใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ในกระบวนการอบแห้งฟักทอง ฟักทอง เป็นพืชที่สามารถใช้แทบทุกส่วนเป็นอาหารได้ตั้งแต่ ยอด ดอก ผล แม้แต่เมล็ดก็มีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง ส่วนในเนื้อฟักทองมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีเบต้าแคโรทีน และโพแทสเซียมสูง การแปรรูปฟักทองโดยการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ในกระบวนการอบแห้งและแช่อิ่มอบแห้ง เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางเลือกหนึ่ง ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

Read more