ข้าวโพด : การจำแนกชนิดของข้าวโพด

9

1. จำแนกตามลักษณะเมล็ด

ข้าวโพดหัวแข็ง  (Flint corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea  mays indurata   มีลักษณะเมล็ดค่อนข้างแข็ง เมล็ดเรียบ กลม ไม่พบส่วนบุ๋มบนเมล็ด เพราะมีแป้งชนิดอ่อนอยู่ตรงกลาง แต่ด้านนอกถูกห่อหุ้มด้วยแป้งชนิดแข็ง

11 14

ข้าวโพดหัวบุ๋ม Dent corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zea  mays  indentata  เป็นข้าวโพดที่เมล็ดด้านบนมีรอยบุบ เนื่องจากส่วนบนเป็นแป้งชนิดอ่อน และด้านข้างเป็นแป้งแข็ง เมื่อตากให้แห้งส่วนที่เป็นแป้งอ่อนจึงยุบตัวและเกิดลักษณะหัวบุบ

13   14.ข้าวโพดหัวบุ๋ม

ข้าวโพดคั่ว Pop corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zea mays everta ลักษณะเหมือน flint corn แต่ขนาดเมล็ดเล็ก มีเยื่อหุ้มเมล็ดหนาและเหนียว เมื่อนำมาคั่ว เมล็ดได้รับความร้อน จะเกิดแรงดันภายในเมล็ด ทำให้เมล็ดแตกระเบิดพอง แบ่งได้ 2 ชนิด 1) rice pop corn : ลักษณะเมล็ดแหลมและ 2) pearl popcorn : ลักษณะเมล็ดกลม

15

ข้าวโพดแป้ง Flour corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea  mays  amylocea ประกอบด้วยแป้งอ่อนเกือบทั้งหมด เมื่อเมล็ดแห้งจะเหมือน flint cornเมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว

17 

 

ข้าวโพดหวาน Sweet corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zea mays saccharata    เมื่อเมล็ดแก่จะเหี่ยวย่น มียีนแฝงที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งช้า ๆ ทำให้มีรสหวาน เป็นข้าวโพดที่นิยมรับประทานโดยการต้ม

18 19 21-1

ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดเทียน (waxy corn)     มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า  Zea mays ceratina   มี endosperm อ่อนและมีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เป็นขี้ผึ้ง เพราะส่วนประกอบของแป้งเป็น amylopectin ขณะที่ข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้ง Amylose ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง และเมื่อทดสอบ endosperm และ pollen กับ potassium iodine จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

 21

ข้าวโพดป่า  Pod corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zea mays tunica    เมล็ดจะมีเปลือกหุ้ม ใช้ในการศึกษา แหล่งกำเนิดข้าวโพด

 22

 จำแนกตามองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ด

 1.ข้าวโพดแป้ง (field corn หรือ starchy corn) ใช้ประโยชน์จากแป้งในเมล็ด อาหารมนุษย์ และ เลี้ยงสัตว์

2.ข้าวโพดน้ำมันสูง (high oil corn) ใช้ประโยชน์จากน้ามันในส่วนของ embryo เมล็ดข้าวโพดปกติมีน้ามัน 1.2-5.0 เปอร์เซ็นต์

3.ข้าวโพดคุณภาพโปรตีนสูง (high lysine corn) ข้าวโพดที่มี single recessive gene Opaque-2 เมล็ดเป็นแป้งอ่อนและทึบแสง น้ำหนักเมล็ดเบา

 23 24

จำแนกตามเขตภูมิอากาศ

1. ข้าวโพดในเขตอบอุ่น ข้าวโพดชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในเขตเส้นรุ้งที่สูงกว่า 30 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิอากาศในฤดูปลูกค่อนข้างต่ำและได้รับแสงช่วงยาวข้าวโพดในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข้าวโพดที่ปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน

2. ข้าวโพดในเขตกึ่งเขตร้อนชื้น เป็นข้าวโพดที่ปลูกในระหว่างเส้นรุ้ง 20-30 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิของอากาศไม่สูงมากนัก

3. ข้าวโพดในเขตร้อน เป็นข้าวโพดที่ปลูกบริเวณตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรจนถึงเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ บริเวณที่ปลูกข้าวโพดชนิดนี้ ได้แก่ แอฟ ริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย

จำแนกตามอายุเก็บเกี่ยว

1. พืชอายุสั้นมาก เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 80-90 วัน

2. พืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90-100 วัน

3. พืชอายุปานกลาง เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 100-110 วัน

4. พืชอายุยาว เก็บเกี่ยวเมื่อที่อายุ 110-130 วัน

จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์

1. ใช้เมล็ดสุกแก่ เป็นข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวเมล็ดแก่มาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคทั้งมนุษย์หรือสัตว์ หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งหรือน้ำมัน

2 . ใช้บริโภคฝักสด คือ ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวฝักที่ยังอ่อนหรือ เมล็ดที่ยังไม่แก่ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดข้าวเหนียว

3. ใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ คือ ข้าวโพดที่ปลูกแล้วตัดต้นในระยะก่อนแก่ เพื่อนำข้าวโพดทั้งต้นไปทำหญ้าสด หญ้าหมัก หรือหญ้าแห้ง

4. ใช้ฝักสำหรับประดับ (ornamental corn) คือ ข้าวโพดที่เมล็ดบนฝักเดียวกันมีหลายสีเนื่องจากการสะสม pigment ที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวโพดแฟนซี ข้าวโพดอัญมณี  สามารถใช้เป็นข้าวโพดประดับได้

 25   644744_472461682819654_1084179089_n