ถั่วเขียว: ความสำคัญของงานวิจัย

 3.ความสำคัญ         

ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกกันทั่วไปในพื้นที่เขตร้อน อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า บังกลาเทศ อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย รวมถึงทางตอนใต้ของแถบยุโรป และอเมริกาใต้บางประทศ

ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตสั้น ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 65 วัน จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืชหมุนเวียน เป็นปุ๋ยพืชสดที่ให้ปริมาณไนโตรเจนสูงเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนได้ดี ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ถั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทยมาโดยตลอด เคยมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ยปีละกว่า 3 ล้านไร่  ผลิตเมล็ดได้ปีละกว่า  3 แสนตัน  และไทยยังเป็นผู้ส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียวรายใหญ่ที่สุดของโลกมากว่า 30 ปีติดต่อกัน ปัจจุบันแม้พื้นที่ปลูกถั่วเขียวของไทยลดลงไปบ้างแต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ราคาของถั่วเขียวในปี พ.ศ. 2553 สูงถึง 32.90 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจึงหันกลับมาปลูกถั่วเขียวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ในปีพ.ศ. 2554 มีพื้นที่เพาะปลูกถั่วเขียวเพิ่มขึ้น  ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยจะมีการใช้ถั่วเขียวมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลผลิตเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น สภาพดินที่ไม่เหมาะสม มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง ประกอบกับพันธุ์ถั่วเขียวที่นิยมปลูกยังอ่อนแอต่อดินด่าง และการเข้าทำลายของโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคราแป้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล ไวรัสใบด่างเหลือง และการทำลายของแมลง โดยเฉพาะด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ทำให้เกิดความเสียหายทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว แนวทางแก้ไข คือ ควรเร่งรัดพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวให้มีผลผลิตสูงยิ่งขึ้น ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ต้านทานโรคและแมลง