โคเงินล้านที่เกิดจากเงินหมื่น

  การดำเนินงานต่างๆในระยะแรก ตั้งแต่สถานีวิจัยทับกวาง ใช้เงินออป.(เงินอุดหนุนจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) และเงินรายได้ภาควิชาสัตวบาล ช่วงต่อมาจึงตั้งงบประมาณไว้กับสถานีฝึกนิสิตกำแพงแสน และยังได้รับความช่วยเหลืออีกส่วนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์  ซึ่งศาสตราจารย์ดร.จรัญ จันทลักขณา บันทึกไว้ว่า “โคกำแพงแสนเป็นโคเงินล้าน ที่เกิดจากเงินหมื่น  เพราะเมื่อเริ่มโครงการส-น 1.18 ในช่วงแรก โครงการได้รับงบประมาณวิจัยเพียงปีละ สามหมื่นบาทบ้าง ห้าหมื่นบาทบ้าง  จากงบอุดหนุนวิจัยที่ได้จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.”  แนวทางดำเนินงานของโครงการฯ จึงต้องหาแนวร่วมในการทำงาน เพราะการทำงานโดยลำพังยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้ 

  พ.ศ.2534  ก่อตั้งสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน   อ.ปรารถนา พฤกษะศรี ได้แนวคิดจากที่ได้อ่านประวัติ และกระบวนการสร้างโคพันธุ์เดราท์มาสเตอร์ ในประเทศออสเตรเลีย  และพันธุ์แบรงกัส ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ทราบถึงความเป็นมาที่ยากเย็นและยาวนาน โดยเห็นว่าความสำเร็จเกิดจากกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ร่วมกันก่อตั้งสมาคมประจำพันธุ์นั้นๆ  แล้วสมาคมจะกำหนดลักษณะโคในอุดมคติที่ต้องการขึ้นมา เรียกว่า standard of excellence ของโคนั้นๆ แล้วตั้งสมุดจดทะเบียน(herd book) ของสมาคมขึ้นมา  โคในทำเนียบของสมาคมจึงล้วนมีลักษณะดี และยังมีการจัดทำระบบระดับการพัฒนา (development D1-D5) โคตัวไหนอยู่ระดับ D5 จึงจะถือว่าเป็นพันธุ์แท้   จึงจับประเด็นได้ว่า ต้องมีสมาคมเป็นผู้ดำเนินการต่างๆอย่างจริงจังต่อเนื่อง การสร้างพันธุ์จึงจะสำเร็จ จึงเห็นพ้องกันก่อตั้งสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนขึ้น ในวันที่ 8 สิงหาคม 2534 ในชื่อว่า  สมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน พร้อมขอเชิญให้คุณสุนทร นิคมรัตน์ เจ้าของฟาร์มชวนชื่น  แนวร่วมของโครงการฯมาแต่เริ่มแรก เป็นนายกสมาคมฯคนแรก  มีการตั้ง standard of excellence ของโคกำแพงแสนขึ้น  โคที่มีลักษณะตามกำหนด จะได้รับการจดทะเบียนและเรียกว่าโคพันธุ์กำแพงแสน รวมทั้งมีการจัดทำระบบการพัฒนา (D) เช่นที่มีการปฏิบัติตามแบบสากล จากนั้นสมาคมฯ ร่วมมือกับโครงการฯ ได้ขยายงานปรับปรุงพันธุ์ออกไปสู่ฟาร์มเอกชนในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ

 เครื่องหมายสมาคมโคเนื้อกพส          สหกรณ์โค2

     พ.ศ.2534 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศจัดตั้งสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2534 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.จรัญ จันทลักขณา เป็นผู้อำนวยการคนแรก และได้โอนสถานีวิจัยกำแพงแสน จากสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาฯ รวมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ และโคที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2527 มาสังกัดสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ

   พ.ศ. 2536 ก่อตั้งสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด  มีดร.ชัยณรงค์ คันธพนิต เป็นประธานสหกรณ์คนแรก

KU Beef   KU Beef TM

        สืบเนื่องจากเมื่อลูกโคของสมาชิกออกมามากขึ้น ลูกโคตัวผู้ มีเพียงจำนวนน้อยที่เก็บไว้เป็นพ่อพันธุ์ ส่วนที่เหลือต้องทำโคขุนเพื่อขายเนื้อ  สมาชิกจึงร่วมกันก่อตั้งสหกรณ์เพื่อดำเนินการเรื่องการตลาด การส่งเสริมธุรกิจจำหน่ายเนื้อโคขุนพันธุ์กำแพงแสนไปยังศูนย์การค้า ภัตตาคารต่างๆ

    พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานโคเนื้อแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ วิทยาเขตกำแพงแสน สมาชิกของสมาคม มีโอกาสได้ทูลเกล้าฯ ถวายโคพันธุ์กำแพงแสน รวม 7 ตัว

    พ.ศ. 2538 พ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เบอร์ K 11-36/241 ชื่อ ขุนแผน  ชนะการประกวดโคเนื้อ ได้รับรางวัลสุดยอดโคเนื้อของประเทศไทย (Super Grand Champion) ในงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 Thailand ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน- 16 ธันวาคม 2538 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

----

---

 

แก้-ขุนแผน243

          ขุนแผน พ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เบอร์ K 11-36/241

         สุดยอดโคเนื้อแห่งปี ในงานWORD TECH  95   Thailand

 

   พ.ศ. 2538 พ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เบอร์ K 11-36/241 ชื่อ ขุนแผน  ชนะการประกวดโคเนื้อ ได้รับรางวัลสุดยอดโคเนื้อของประเทศไทย (Super Grand Champion) ในงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 Thailand ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน- 16 ธันวาคม 2538 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

ขุนแผน โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ได้รับรางวัลสุดยอดโคเนื้อแห่งปี (Super Grand Champion) ในงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 Thailand
        ขุนแผน โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ได้รับรางวัลสุดยอดโคเนื้อแห่งปี (Super Grand Champion)                   ในงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 Thailand

     การประกวดโคเนื้อในงานนี้ จัดขึ้นโดยกรมปศุสัตว์ และความร่วมมือของหน่วยงาน สมาคมต่างๆ  เป็นการประกวดในระบบสากล กรรมการตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคบราห์มัน  สมาคมโคพันธุ์ซิมเมนทอลแห่งสหรัฐอเมริกา  โคที่นำมาประกวดมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นที่นิยมของเกษตรกรไทย คือ 1) พันธุ์บราห์มัน  2) พันธุ์ลูกผสมโคเมืองร้อน(ลูกผสมบราห์มัน หรือลูกผสมฮินดูบราซิล) 3) พันธุ์เดราท์มาสเตอร์ และ 4) พันธุ์กำแพงแสน  วิธีการคือทำการประกวดกันเองในแต่ละพันธุ์ จนกระทั่งได้โคที่ดีที่สุด เรียกตำแหน่งนี้ว่า โคยอดเยี่ยม (Grand Champion) ของพันธุ์นั้นๆ เมื่อได้โคยอดเยี่ยม1ตัวของแต่ละพันธุ์แล้ว ก็นำโคยอดเยี่ยมแต่ละพันธุ์เหล่านั้นมาประกวดกันอีกครั้ง  เพื่อหาโคที่เป็นสุดยอดโคเนื้อแห่งปี( Super Grand Champion) ผลปรากฏว่า ขุนแผน โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน เบอร์ K 11-36/241 สามารถคว้าตำแหน่งสูงสุดนี้ได้ นับแต่นั้น โคพันธุ์กำแพงแสนก็โด่งดังไปทั่ว