งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

9-1(1)[1]

มันสำปะหลัง

ชื่อสามัญ          Cassava, Tapioca, Manioc,  Yuca, Mandioa
ชื่อท้องถิ่น             มันสำปะหลัง มันสำโรง (กลาง) ต้าวน้อย ต้าวบ้าน (ภาคเหนือ) มันต้น มันไม้ (ภาคใต้) มันหิ่ว (พังงา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sciencetific Name: Manihot esculenta (  L .)    Crantz 
ชั้น                :  Class        Angiospermae
ชั้นย่อย          :  Subclass  Dicotyledonae
อันดับ            :  Order Geraniales
วงศ์               :   family      Euphorbiaceae
สกุล              :   Genus      Manihot
ชนิด              :  Species    esculenta

มันสำปะหลัง จัดเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้น มีอายุอยู่ได้หลายปี เป็นพืชอาหารที่ใช้เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต เป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนต่อความแห้งแล้ง  ปัญหาโรคแมลงมีน้อย  การเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาลจึงสามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งถ้าพิจารณาจากปริมาณการผลิตพืชอาหารทั่วโลกมันสำปะหลังจัดอยู่ในลำดับที่ 8 ของ 10 อันดับแรกของพืชเศรษฐกิจโลก

มันสำปะหลัง มีชื่อสามัญเรียกหลายชื่อตามภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาอังกฤษเรียกว่า แคสซาวา (Cassava) หรือทาพิโอกา (Tapioca) ภาษาโปรตุเกสในประเทศบราซิลเรียกว่า แมนดิโอกา (Mandioca) แถบประเทศในทวีปแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า แมนิออก (Manioc) ประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ใช้ภาษาสเปนเรียกว่า ยูกา (Yuca) ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า “ซำเปอ (Sampou)” ของชวาตะวันตก

  • ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง
  • ความสำคัญของมันสำปะหลัง
  • แหล่งปลูกมันสำปะหลังของโลก
  • การผลิตมันสำปะหลังของไทย
  • ความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย

    แหล่งปลูกมันสำปะหลังดั้งเดิม

           การนำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกในประเทศไทย

  • แหล่งปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย
  • การจำแนกชนิดและสายพันธุ์มันสำปะหลัง