ห่วงโซ่อุปทานของถั่วลิสง และการทำนายการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซิน

ถั่วลิสง-เสาวณีย์

การปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินจากเชื้อราในถั่วลิสงเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดสายห่วงโซ่อุปทานของถั่วลิสง ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงมือผู้บิโภค หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม

ห่วงโซ่อุปทาน

 

คัดเลือกถั่ว   ถั่วลิสง1

 

    รศ.ดร.เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล จากภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ทำการศึกษาโครงสร้างสายห่วงโซ่อุปทานของถั่วลิสงดิบ และทำการสำรวจถึงปริมาณการปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน โดยการสุ่มวัดค่าสารอะฟลาทอกซิน จากจุดต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน  เริ่มตั้งแต่ผลผลิตถั่วลิสงที่ได้จากเกษตรกร ส่งให้โรงงานกะเทาะเปลือก  โดยโรงงานจะทำการตากแห้งก่อนอีกครั้งเพื่อลดความชื้น  และจะเก็บถั่วลิสงดิบที่ตากแห้งแล้วนี้ไว้ทั้งเปลือก โดยจะทำการกะเทาะเปลือกเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา เนื่องจากถั่วลิสงที่กะเทาะเปลือกแล้วจะเก็บได้ไม่นานเพราะสีจะเข้มขึ้น  โรงกะเทาะจะส่งถั่วลิสงที่กะเทาะเปลือกแล้วให้โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทผู้จัดจำหน่าย ตลาดค้าส่งถั่วลิสง   ตลาดค้าปลีก และสุดท้ายจึงไปสู่ผู้บริโภคตามลำดับ โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจความตระหนักถึงอันตรายและการป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซินจากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานถั่วลิสงดิบแบบไม่ลอกเยื่อ  ผลการสำรวจพบว่า ผู้ค้าส่งส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของสารพิษอะฟลาทอกซินและมีการป้องกันการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินด้วยการคัดเลือกและการทำให้แห้ง ในขณะผู้ค้าปลีกและร้านอาหารกลับพบว่าไม่ได้มีวิธีการป้องกันการปนเปื้อน     ส่วนการลดปริมาณสารอะฟลาทอกซินโครงการได้พัฒนาวิธีการคัดแยกคุณภาพถั่วลิสงที่เหมาะสม เริ่มจาการเทถั่วลิสงลงบนพื้นสีอ่อน คัดสิ่งแปลกปลอม เช่น หิน ดิน เปลือก เมล็ดถั่วที่มีตำหนิ หรือไม่สมบูรณ์ มีสี รูปร่างผิดปกติ มีการงอกมีการปรากฏของเชื้อราออก  ซึ่งถั่วที่ผ่านการคัดแยกวิธีนี้ สามารถลดโอกาสที่จะพบการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินเกินระดับ 20 ppb  ได้จาก 64.10% เหลือ 36.57% โครงการยังได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงดิบไม่ลอกเยื่อ และนำมาสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ระบบผู้เชี่ยวชาญคลุมเครือ(แบบจำลอง ANFIS) ในการทำนายระดับการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินจากปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งระดับการปนเปื้อนเป็น 2 ระดับ คือระดับที่ต่ำกว่า 20 ppb และตั้งแต่ 2 ppb   ซึ่งสามารถทำนายระดับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงดิบของข้อมูลชุดฝึกฝนและข้อมูลชุดทดสอบได้แม่นยำถูกต้องร้อยละ 86.97 และ 79.80 ตามลำดับ

 4

 

                                                   เสาวณีย์

ที่มาข้อมูล : โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก.

รศ.ดร.เสาวณีย์  เลิศวรสิริกุล

ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เรื่องโดย      วันเพ็ญ นภาทิวาอำนวย

ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมก.

โทร. 0-2561-1474

e-mail : rdiwan@ku.ac.th