คณะทำงานห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันจีโนม ไบโอเทค ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภททีม ประจำปี 2556

คณะทำงานห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันจีโนม  (ไบโอเทค) ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภททีม ประจำปี 2556
จาก
 : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

ผลงาน : เรื่อง เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์กับการตรวจสอบจีโนมอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยควบคุมคุณภาพสินค้าในการส่งออกอาหาร และการปรับปรุงพันธุ์พืชอายุยืนแบบก้าวกระโดด
คณะทำงานห้องปฏิบัติการดีเดอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์reward_techno2
1. รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
2. ดร.สมวงศ์ ตระกูลรุ่ง
3. น.ส.อภิวรรณ อยู่จินดา
4. นางขันติพร นาถวรานันต์
5. น.ส.จรรญา ฝ่าผล
6. นายนิวัฒน์ ปุริสังข์
7. นายถิระ ภมรพล
8. นายฝุก เชี่ยงฉิน
9. น.ส.อัญชลี ลิ้มอำนวย
10. น.ส.กรุณา พิมพิสาร
11. น.ส.อมรรัตน์ ปาละมะ
12. นายมนัญ วิมูลชาติ

คณะทำงานจากสถาบันจีโนม นำโดย ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการสถาบันจีโนม จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติreward_techno1
1. น.ส.วิรัลดา ภูตะคาม
2. นายสิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
3. น.ส.นุกูล จอมชัย
4. น.ส.ทิพวัลย์ อยู่ชา
5. นายเจอร์มี เชียร์แมน
6. นางปัณฑิตา เรืองอารีย์รัตน์
7. น.ส.พิชาภัค อุทัยไพศาลวงศ์
8. น.ส.สุธาสินี สมยง
9. นางดวงใจ แสงสระคู

ดร. สมวงษ์ และคณะ นำเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาพัฒนาเพื่อใช้ในการตรวจสอบอย่างรวดเร็วกับสินค้าด้านอาหาร และสิ่งมีชีวิต เช่น การตรวจสอบข้าวปลอมปนจากเมล็ดข้าวสาร โดยเฉพาะการปลอมปนในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งถือเป็นข้าวส่งออกที่มีชื่อเสียงของไทย จนสามารถให้บริการแก่กรมการค้าต่างประเทศในการตรวจรับรองคุณภาพให้มีความบริสุทธิ์สูงสุด สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิ ส่งผลให้ผู้ส่งออกได้ราคาสูงขึ้น มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิขายข้าวเปลือกในราคาที่สูงขึ้นอีกด้วย รวมทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยี Real-time PCR เพื่อใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organism, GMO) ที่สามารถตรวจปริมาณการปนเปื้อนได้ต่ำถึง 0.1%

 

นอกจากนี้ ดร. สมวงษ์ และคณะ ยังได้นำเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชหรือสัตว์อย่างก้าวกระโดด เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีจีโนมปาล์มน้ำมันเพื่อร่นระยะเวลาในปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากปกติ 15-20 ปี เหลือเพียง 5-8 ปี โดยมีวัตุประสงค์หลักเพื่อให้ได้พันธุ์ปาล์มที่สามารถปลูกได้ดีในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี

>> ประวัติการจัดตั้งกลุ่มการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจีโนม