ผศ.ดร.รัตรนาวรรณ มั่งคั่ง คณะสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้ารางวัล “ Best Paper Award” Eco Design ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

ผศ.ดร.รัตรนาวรรณ มั่งคั่ง คณะสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้ารางวัล  “ Best Paper Award” Eco Design ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เกี่ยวกับผลงาน เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับระบบรับรองและฉลากอัพไซเคิลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของไทยสู่สากล ที่เป็นการริเริ่มและพัฒนาเป็นครั้งแรกในโลก โดย สส. (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่วมกับอบก. (องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)) พร้อมด้วย สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)  ภายใต้การดำเนินโครงการนำร่องจากทีมผู้เชี่ยวชาญ มก. (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านอัพไซเคิลระดับชาติและสากล ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับชาติและสากลผศ.ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม

 อัพไซเคิล เปิดตัวเป็นธุรกิจสีเขียวจากการนำเอาเศษวัสดุมาออกแบบเชิงสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลกและลดโลกร้อน ทำให้รัฐเห็นช่องทางส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เป็นกลยุทธ์เพิ่มมูลค่าวัสดุที่เหลือทิ้ง เหลือใช้ ของเสีย  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้ว คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในขณะเดียวกันกำลังเป็นปัญหาวิกฤตของโลก จากการปล่อยกาซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของมนุษย์เรา ซึ่งมีแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกจะจกที่สำคัญมาจากการผลิตพลังงาน การจนส่ง การเกษตรกรรม รวมทั้ง จากการจัดการของเสีย

ระบบรับรองและฉลากอัพไซเคิลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือทางการตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับกระแสธุรกิจสีเขียว

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล คือ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการฝังกลบเศษวัสดุที่ใช้ในวัสดุหรือผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล และ จากการผลิตวัสดุใหม่หากไม่นำเศษวัสดุมาใช้ในวัสดุหรือผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล … ตอบโจทย์ลดโลกร้อนได้เป็นอย่างยอดเยี่ยม

ผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลเป็นการส่งเสริมการจัดการองเสียที่มีประสิทธิภาพ เพราะหากไม่นำเศษวัสดุเหล่านี้มาใช้ประโยชน์จะเป็นภาระด้านสิ่งแวดล้อม… เรื่องราวที่มีคุณค่าของตัวผลิตภัณฑ์ที่นำของเสียมา reuse และ recycle ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เทียบเท่าหรือดีกว่าเดิม เป็นช่องทางสำหรับการตลาดสีเขียวได้เป็นอย่างดี