FAQ – ระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. (KUR3)

ระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. (KUR3)

การส่งบทความวิจัยตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสาร (Simultaneous Submission) ควรทำหรือไม่

ตอบ

การส่งบทความตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสาร (Simultaneous submission) หมายความถึง การส่งบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสาร โดยอาจส่งในเวลาเดียวกัน หรือส่งไปวารสารหนึ่งแล้วยังไม่ได้รับคำตอบจึงส่งเรื่องเดียวกันไปยังอีกวารสารหนึ่ง

วารสารส่วนใหญ่ต้องใช้ทรัพยากรค่อนข้างมากในการพิจารณาลงตีพิมพ์บทความใดบทความหนึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่ดำเนินเอกสาร เวลา และผู้พิจารณาให้ความเห็น (peer reviewer) ดังนั้นการส่งบทความตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสาร จึงเป็นการใช้ทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้อย่างไม่เหมาะสม และหากบทความที่ส่งไปได้รับการตีพิมพ์ทั้งสองแห่งหรือมากกว่าสองแห่ง โดยมีเนื้อหาเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดจริยธรรมในประเด็นอื่นๆอีก (ดูหัวข้อ plagiarism, salami publicationและ redundant publication ประกอบ)

     อนึ่ง ปัจจุบันได้มีความพยายามในการสร้างระบบขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเอื้อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างวารสารอย่างยุติธรรม โดยให้ผู้นิพนธ์สามารถส่งตีพิมพ์ผ่านระบบนี้ได้มากกว่าหนึ่งวารสาร อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นด้วยหลักการของการใช้ทรัพยากรร่วมการส่งตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสารในเวลาเดียวกันจึงยังเป็นเรื่องไม่ควรปฏิบัติอยู่

แนวทางการปฏิบัติ

  1.  เมื่อส่งเรื่องตีพิมพ์ไปยังวารสารใดวารสารหนึ่งแล้ว ควรรอจนได้รับการปฏิเสธจากวารสารนั้นก่อนที่จะส่งไปยังวารสารอื่น หากกระบวนการประเมินยังไม่เสร็จสิ้นแต่จำเป็นต้องเปลี่ยนวารสาร (เช่นมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ทำให้คุณค่าของผลงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง) ควรแจ้งยกเลิกการส่งตีพิมพ์กับวารสารนั้นและรอจนได้รับการยืนยันจากบรรณาธิการก่อนจึงพิจารณาส่งไปยังวารสารอื่นต่อไป
  2. เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการส่งผลงานตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์มากกว่าหนึ่งคนซึ่งต่างคนต่างส่งโดยไม่ได้แจ้งผู้ร่วมนิพนธ์ทั้งหมดก่อน (เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ) คณะผู้นิพนธ์ควรยึดหลักการเป็นผู้นิพนธ์
    (ดูหัวข้อ authorship ประกอบ) โดยเคร่งครัด และตกลงร่วมกันว่าใครจะมีหน้าที่เป็นผู้ส่งผลงานตีพิมพ์และให้ผู้นั้นเป็นคนเดียวที่รับผิดชอบติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการ ตั้งแต่ส่งผลงานจนถึงการตีพิมพ์ในที่สุด
  3. ในการประชุมวิชาการ บางครั้งผู้จัดประชุมจะให้ผู้นำเสนอผลงานส่งบทความเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารที่ผู้จัดประชุมเป็นเจ้าของอยู่ และในบางกรณีอาจให้ผู้นิพนธ์ลงนามโอนลิขสิทธิ์ให้ไว้ล่วงหน้า ในกรณีเหล่านี้ผู้นิพนธ์ควรปฏิบัติเสมือนตนได้ส่งเรื่องไปให้วารสารพิจารณา กล่าวคือหลังการประชุมเมื่อผู้นิพนธ์ต้องการส่งไปยังวารสารอื่น ให้แจ้งผู้จัดประชุมว่าตนจะส่งไปลงตีพิมพ์ยังวารสารอื่น แล้วรอคำตอบจากผู้จัดประชุมก่อนเสมอ

แหล่งอ้างอิง : (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ, หน้า 28)

 

ข้อมูลจากระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. นำไปใช้ทำอะไรบ้าง

ตอบ 

  1. ใช้ข้อมูลรายงานผลต่อสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
  2. ใช้ข้อมูลรายงานผลต่อสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
  3. คณะ/สถาบัน/สํานัก ใช้ในการรายงานผลต่อสํานักประกันคุณภาพในระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยฯ 
  4. ข้อมูลโครงการวิจัย/ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ/ผลงานตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ/สิทธิบัตร และ อนุสิทธิบัตร  ข้อมูลเชื่อมโยงไปยังระบบภาระงานอาจารย์
  5. อาจารย์/นักวิจัย สามารถพิมพ์รายงานประวัติผลงานวิจัยทั้งหมดที่มีระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้ตลอดเวลา
คู่มือการใช้งานระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก.
ต้องการสมัครเป็นนักวิจัย ทำอย่างไร

ตอบ  กรณีไม่เคยสมัครเป็นนักวิจัยของ สวพ. มาก่อน

  1. อาจารย์/นักวิจัย Login โดยใช้ E-mail ของมหาวิทยาลัยฯ กรอกผ่านระบบฯ ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบ หากยังไม่มีรายชื่อเป็นนักวิจัยจะแสดงหน้าต่างให้ลงทะเบียน Online โดยอัตโนมัติ
  2. เจ้าหน้าที่ สวพ.มก. จะทำการตรวจสอบข้อมูลการสมัครเป็นนักวิจัย โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 วันทำการ
  3. เมื่อ สวพ.มก. ลงทะเบียนเป็นนักวิจัยเรียบร้อยแล้ว ระบบจะมีการแจ้งเตือนโดนผ่านทาง E-mail ที่ได้ลงทะเบียนไว้
  4. กรณีไม่สามารถลงทะเบียนได้ ติดต่อ ฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย สวพ.มก. โทร. 0-2561-4640 สายใน 1459 และ  1805
ต้องการแก้ไขข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบจาก สวพ.มก. ไปแล้วต้องทำอย่างไร

ตอบ  จากรูป ในตารางสรุปรายชื่อผลงาน ให้คลิกคำว่า “ขอแก้ไข” โดยนักวิจัยกรอกรายละเอียดที่ต้องการแก้ไขผ่านระบบ เพื่อรอเจ้าหน้าที่ สวพ.มก. ดำเนินการตรวจสอบ/แก้ไขให้ต่อไป หากนักวิจัยต้องการนำข้อมูลไปรายงานผลเร่งด่วนสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย สวพ.มก. โทรสายใน 1459, 1805  สายนอก 0-2561-4640

faq-r3-editdata

ทำไมต้องกรอก “รายชื่อผู้ร่วมวิจัย” ให้ครบทุกคน

ตอบ   บทความหรือรายงานวิจัยต้องไม่มีการละเมิดสิทธิความเป็นผู้นิพนธ์ คือต้องใส่ชื่อผู้มีส่วนร่วมในการผลิตผลงานวิจัยให้ครบถ้วนไม่เพิ่มเติมชื่อผู้ที่มิได้มีคุณสมบัติเป็นผู้นิพนธ์ (Guest or Honorary และ Planned authorship) เข้าไป (โดยเจ้าตัวอาจทราบหรือไม่ทราบ) หรือไม่ใส่ชื่อผู้สมควรเป็นผู้นิพนธ์ไว้ด้วย (Denial of authorship) หรือใส่ชื่อผู้ไม่สมควรเป็นผู้นิพนธ์แทนตัวนักวิจัยเอง (Relinquished authorship) หรือระบุชื่อนักวิจัยเป็นผู้นิพนธ์ทั้งๆ ที่ผู้อื่นเป็นผู้เขียนผลงานให้ (ดังที่เรียกว่า “ความเป็นผู้นิพนธ์แฝง” Ghost authorship) 

แห่งอ้างอิง : 

ทำไมต้องระบุข้อมูล “โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง” และ “การใช้ประโยชน์”

ตอบ  การระบุ “โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง”  หมายถึง การได้ผลงานวิจัย (บทความตีพิมพ์ทางวิชาการ/บทความตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ/ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา/ผลงานอื่นที่เกี่ยวขัองกับงานวิจัย) ที่สืบเนื่องจากโครงการวิจัยที่ได้ทำหรือกำลังดำเนินการอยู่ เมื่อระบุชื่อโครงการ แล้วรายชื่อผลงานเรื่องนั้นจะไปปรากฎยังเมนู “การใช้ประโยชน์” ต่อไป 

 

การใช้ประโยชน์ หมายถึงานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์อันก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ไม่รวมผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ซึ่งการใช้ประโยชน์ต้องมาจากผลงานวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 เชิง ดังนี้

  • เชิงวิชาการ เช่น การใช้ประโยชน์ในการให้บริการวิชาการ(สอน/บรรยาย/ฝึกอบรม) การใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน การเขียนตำรา แบบเรียน การใช้ประโยชน์ในด้านการให้บริการ หรือ เป็นงานวิจัยเพื่อต่อยอดโครงการวิจัย เป็นต้น
  • เชิงนโยบาย/บริหาร เช่น งานวิจัยเชิงนโยบายไม่ว่าจะเป็นการนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ไปเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของการประกาศใช้กฎหมาย หรือมาตรการต่าง ๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
  • เชิงสาธารณะ เช่น งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่สร้างองค์ความรู้แก่สาธารณชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น องค์ความรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรม สาธารณสุข การบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประชาธิปไตยภาคประชาชน อันเป็นผลมาจากการนำความรู้จากการวิจัยไปใช้ เป็นสิ่งสะท้อนถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
  • เชิงพาณิชย์ เช่น งานวิจัย และ/หรืองานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ตามมา

โดยข้อมูลการใช้ประโยชน์นี้เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่มหาวิทยาลัยฯ ต้องนำข้อมูลรายงานผลต่อ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสถาบันฯ นำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาจัดสรรทุนต่อไป

 

ผลงานวิจัยจากระบบ KUR3 ที่สามารถนำไปคิดภาระงานอาจารย์ได้

ตอบ

 การเชื่อมภาระงาน

 

 

ผลงานวิจัยที่ไม่ต้องกรอกเข้าระบบ เนื่องจากสถาบันฯจะทำการ Import ข้อมูลให้อัตโนมัติ

ตอบ

  1. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล ISI  Web of Science
  2. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล Scopus
  3. ข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัย มก.
  4. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารเกษตรศาสตร์ (Kasetsart Journal)
ระบบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. (KUR3) เก็บข้อมูลอะไร

ตอบ คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูล ดังต่อไปนี้

  1. โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนต่างๆ “ที่ไม่ใช่ทุนอุดหนุนวิจัย มก.”
  2. บทความตีพิมพ์ทางวิชาการ (Journal)
  3. บทความนำเสนอในการประชุมทางวิชาการ (Conference)
  4. ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ประกอบด้วย
    1. ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช , พันธุ์สัตว์ และ สิ่งประดิษฐ์ มก.
    2. การรับรองพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร
    3. สิทธิบัตร
    4. อนุสิทธิบัตร
    5. เครื่องหมายการค้า
    6. ลิขสิทธิ
  5. ผลงานอื่นๆ (คือ ผลงานที่เกิดจากงานวิจัยเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผลงานตามข้อ 2-4 ข้างต้น)
  6. การใช้ประโยชน์ – งานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์อันก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ไม่รวมผลงานที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ซึ่งการใช้ประโยชน์ต้องมาจากผลงานวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 เชิง ดังนี้
    1. เชิงวิชาการ
    2. เชิงนโยบาย/บริหาร
    3. เชิงสาธารณะ
    4. เชิงพาณิชย์
  7. รางวัล
  8. รางวัลโดยบุคคล
  9. รางวัลโดยผลงานสิ่งประดิษฐ์
  10. รางวัลโดยผลงานนำเสนอในการประชุมวิชาการ
หากต้องการกรอกข้อมูลโครงการวิจัยย้อนหลัง ต้องทำอย่างไร

ตอบ อาจารย์/นักวิจัย สามารถกรอกข้อมูลได้ตามปกติ โดยกรอกปี พ.ศ. ที่ได้รับทุนของโครงการวิจัยไว้ในวงเล็บ หน้าชื่อโครงการ หลังจากบันทึกข้อมูลเข้าระบบแล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินการแก้ให้ต่อไป

faq-r3-inputYearProject

ใครที่สามารถกรอกข้อมูลผลงานวิจัยเข้าระบบงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. ได้บ้าง

ตอบ

  1. อาจารย์/นักวิจัย ที่เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และลงทะเบียนเป็นนักวิจัยของ สวพ.มก. แล้ว
  2. ผู้แทนหน่วยงาน คือ ผู้ที่หน่วยงานกำหนดให้มีหน้าที่ในการกรอกข้อมูลผลงานวิจัยของบุคลากรภายในหน่วยงานระดับภาควิชา แทนเจ้าของผลงานโดยสามารถขอรับ User และ Password สำหรับเข้าระบบฯ ได้ที่ ฝ่ายสารสนเทศงานวิจัย สวพ.มก. โทรภายใน 1459, 1805 สายนอก 0-2561-4640