KU Smart Scale
ดร. จุมพล วรสายัณห์
ดร. จิตติ นิรมิตรานนท์
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5000
ดร. จุมพล วรสายัณห์
ดร. จิตติ นิรมิตรานนท์
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 0-2562-5000
ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมบุคลากร แสดงพลัง KU-nity เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2563 นั้น ประกอบกับการครบรอบ 5 ปี ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2558
Read moreMOU Signing Ceremony between National Agricultural Research Organisation: NARO and Kasetsart University (KU) On Friday January 10, 2020 Bangkok Thailand
Read moreสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. จัดอบรมการใช้ระบบ KU Smart P เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2562 แก่บุคลากร เพื่อได้เข้าใจระบบประเมินผลการปฏิบัติิงาน (PMS: Performance Evaluation) ซึ่งเป็นระบบสำหรับประเมินบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามเกณฑ์ หรือสัดส่วนการประเมิน KPIs และ Competency
Read moreนักวิจัย ม.เกษตร ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดกินได้และศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผลิตผลของเห็ดกินได้ในป่าธรรมชาติ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เป็นแปลงสาธิตการเพาะเห็ดป่ากินได้ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์บนพื้นฐานของศักยภาพทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดระดับชุมชน และเพิ่มพูนทางเศรษฐกิจระดับชุมชนจากการเก็บผลผลิตของเห็ดป่า เห็ด มีความสำคัญในการย่อยสลายอินทรียสารให้เป็นแร่ธาตุ นอกจากประโยชน์มีต่อระบบนิเวศแล้ว เห็ดป่าหลายชนิดยังเป็นเห็ดที่กินได้และบางชนิดมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ปัจจัยแวดล้อมหลายปัจจัยยังที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดของเห็ด ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณของเห็ดในแต่ละปีได้ ดร.ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดกินได้และศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผลิตผลของเห็ดกินได้ในป่าธรรมชาติ จากการสำรวจเห็ดกินได้ในป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา
Read moreในโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีต่างๆที่พัฒนาไปอย่างมาก เกษตรกรไทยจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำการเกษตรแบบใหม่ที่ตอบรับกับเทคโนโลยีในยุค 4.0 เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งการผลิตด้านการเกษตรแนวใหม่มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้วยระบบข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร และคณะ จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันทางการเกษตรเกี่ยวกับพืช สัตว์เศรษฐกิจ และการจัดการด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลมากกว่าการใช้ประสบการณ์ในการผลิตด้านการเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต
Read moreย้อนไปเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สมัยนั้นฐานข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ยังไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนยุคนี้ แบบฟอร์มทุกอย่างเป็นกระดาษ โดยที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และทางกระทรวงเกษตร ได้มีการสำรวจหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย ว่าหน่วยงานใดมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์สนเทศ ทางการเกษตรแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2523 ซึ่งตอนนั้นสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการคัดเลือกเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมที่สุดในประเทศ จึงทำหน้าที่เป็นแหล่งจัดเก็บ รวบรวมสารสนเทศการเกษตรแห่งประเทศไทย
Read more