KU Casing ไส้บรรจุชนิดคอลลาเจน โดย ผศ.ดร.จิตศิริ ราชตนะพันธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

KU Casing ไส้บรรจุชนิดคอลลาเจน เป็นไส้บรรจุชนิดคอลลาเจนไว้สำหรับบรรจุไส้กรอกมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ผลงานวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตศิริ ราชตนะพันธุ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail : chitsiri.t@ku.ac.th หรือ fagicrt@ku.ac.th Tel.025625020 ต่อ 5152

Read more

แอปพลิเคชั่นสำหรับการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ (3Fs)

รศ. เจษฏา อิสเหาะ และนายพุทธสงฆ์ สังข์วรรณ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.08-9113-4991

Read more

ผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร โดยคุณชุษณา เมฆโหรา

ผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร เปลือกแก้วมังกรสีแดง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ที่มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผ่านกระบวนการสกัดสารเบต้าไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรอบแห้ง และนำไปทำผงแห้งด้วยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย ซึ่งผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ และสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสารแต่งสีธรรมชาติทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่มีรสชาติ กลิ่น ละลายน้ำได้ง่าย ให้สีชมพูอมม่วง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สอบถามได้ที่ คุณชุษณา เมฆโหรา ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โทร. 0 2942 8629-35 (1607)

Read more

เส้นโซบะชาใบหม่อนปราศจากกลูเตนจากข้าว

โซบะเป็นอาหารที่มีประวัติมายาวนานของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดจากการเพาะปลูกต้นโซบะและประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยได้นำเครื่องโม่เข้ามาภายในประเทศจนทำให้เกิดการพัฒนาเส้นโซบะขึ้นมา โซบะถูกทำมาจากแป้งโซบะ เป็นอาหารแบบเส้นดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เป็นตัวแทนเทียบเคียงกับซูชิ หรือเทมปุระ คุณสมบัติของแป้งโซบะคือ ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงมากขึ้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะมากสำหรับคนที่เป็นโรคภาวะหลอดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จึงเหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารให้สำหรับคนที่เป็นเบาหวานได้รับประทาน ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้ลำไส้ ทำให้ท้องไม่ผูกและยังช่วยทำให้เกิดความอยากอาหารอีกด้วย โซบะมีคุณค่าทางอาหารสูงมากไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี1 หรือบี2 และยังมีแร่ธาตุกับโปรตีนเป็น 2 เท่าของแป้งชนิดอื่น นอกจากนั้นยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์อีกถึง 8 ชนิด

Read more

แอปพลิเคชันอาหาร GMP ไทยแลนด์ (GMP-Check)

แอปพลิเคชันอาหาร GMP ไทยแลนด์ (GMP-Check) รวบรวมเนื้อหาและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมให้เกษตรกร/ผู้ประกอบการ สามารถจะพัฒนาระบบ GMP ให้กับกิจการของตนเอง มีการยกตัวอย่างและแสดงภาพประกอบของโรงเรือนและอุปกรณ์การผลิตที่ถูกต้อง เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามเกณฑ์ GMP มีการรวบรวมคำศัพท์ที่จำเป็นสำหรับความรู้พื้นฐานของระบบ GMP มีแบบประเมินตนเองเพื่อให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการสามารถทวนสอบระบบ GMP ของตนเองเพื่อให้เกิดความพร้อมก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาประเมิน และยังช่วยสรุปขึ้นตอนการขอขึ้นทะเบียน GMP สอบถามได้ที่ รศ.ดร. วราห์ เทพาหุดี ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.08-6699-5458

Read more

การบรรจุหมึกหอมมีชีวิตเพื่อการขนส่ง

ปลาหมึกเป็นอาหารที่นิยมในการบริโภคเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันอาหารทะเล ไม่มีการนำปลาหมึกเป็นๆ มาจำหน่ายหรือผู้บริโภค เหมือนสัตว์อื่นๆ เนื่องจากยังไม่มีการดูแลหรือบรรจุปลาหมึกที่มีชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงนำเทคนิคการบรรจุหมึกหอมที่มีชีวิตเพื่อการขนส่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคของที่มีคุณภาพ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าสัตว์ ตลอดจนเทคนิคการขนส่งหมึกหมอที่มีชีวิต ไปเลี้ยงต่อ aquarium เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม สอบถามได้ที่ ผศ.ดร.จรวย สุขแสงจันทร์ คุณกัญญภา เลิศอิทธิเวช คุณสนธยา ผุยน้อย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.08-1554-4221

Read more

ปืนตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหาร

ปืนตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหาร ใช้เทคโนโลยีก็าซเซนเซอร์ดมกลิ่นสารฟอร์มาลินทำงานได้รวดเร็ว ไม่อาศัยสารเคมี วัดซ้ำไปซ้ำมาได้ ไม่มีสารเคมีของเสีย ไม่สัมผัสกับวัสดุทดสอบ และสามารถบ่งบอกค่าปริมาณที่ชัดเจนเป็นตัวเลข ซึ่งการตรวจวัดการปนเปื้อนในอาหารทุกชนิดทั้งของแข็งและของเหลว โดยมีค่าการตรวจวัดตั้งแต่ 0-12 ppm ระยะในการตรวจวัดสามารถวัดห่างจากสารตัวอย่างประมาณ 15 เซนติเมตร และใช้เวลาการวิเคราะห์ผลน้อยกว่า 12 วินาที สอบถามได้ที่ ผศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2562-5555 ต่อ 3008

Read more

ปืนตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหาร

ปืนตรวจวัดการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหาร โดยการอาศัยก็าซเซนเซอร์ที่มีโครงสร้างเป็นวัสดุนาโน โดยเครื่องมือที่จะสร้างขึ้นจะมีข้อดีกว่าวิธีทดสอบปัจจุบัน คือ รวดเร็ว ไม่อาศัยสารเคมี วัดซ้ำไปซ้ำมาได้โดยไม่มีสารเคมีของเสีย (Chemical Waste) ไม่สัมผัสกับวัสดุทดสอบและสามารถบ่งบอกค่าปริมาณที่ชัดเจนเป็นตัวเลขได้ สอบถามได้ที่ ผศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.08-6706-1269

Read more

เกลือลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ

จากแนวคิดที่ต้องการจะหาวิธีการให้คนไทยปรับลดการบริโภคโซเดียมลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม น.ส.ชุษณา เมฆโหรา นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้วิจัยและพัฒนา “เกลือสมุนไพรลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่พัฒนาขึ้น โดยใช้คุณสมบัติด้านกลิ่นรสของผักและสมุนไพรไทย ร่วมกับการปรับลดขนาดอนุภาคของเกลือ เพื่อให้เป็นเกลือที่มีปริมาณโซเดียมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเกลือปรุงอาหารทั่วๆไป โดยยังคงให้ความเค็มเทียบเท่าเดิม รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติโดยรวมของอาหาร

Read more

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUREC) จะจัดโครงการฝึกอบรม  เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560 ณ ห้องไพลิน ชั้น 3 อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ

Read more