โปรตีนอัลบูมินเสริมจากรำข้าวขาวดอกมะลิ
นางสาวพรพิมล จันทร์ฉาย และคณะ
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 091-729-1656 E-mail: aappmj@ku.ac.th
นางสาวพรพิมล จันทร์ฉาย และคณะ
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 091-729-1656 E-mail: aappmj@ku.ac.th
นางสาวพรพิมล จันทร์ฉาย และคณะ
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
091-729-1656 aappmj@ku.ac.th
ผลิตภัณฑ์นาโนมาส์กหน้า จากรำข้าวเหนียวก่ำ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบเสริมประสิทธิภาพจากโปรตีนไฮโดรไลเสทรำข้าวเหนียวก่ำ ที่มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นผิว ทำให้ผิวเนียนนุ่ม ช่วยลดเลือนริ้วรอย ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยปรับสภาพผิวให้สว่างกระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีนาโนอิมัลชัน ซึ่งสามารถช่วยนำสารเข้าสู่ผิวหนังได้มากขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวทุกประเภท สอบถามได้ที่ คุณพัลลภา วุฒิภาพรกุล สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โทร.0-2942-8600 ต่อ 803
Read moreด้วยคุณค่าทางโภชนาการ คุณสมบัติเชิงหน้าที่ และฤทธิ์ทางชีวภาพที่โดดเด่นของโปรตีนรำข้าว จึงทำให้ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ดร.สุคันธรส ธาดากิตติสาร ร่วมด้วย นางสาวพรพิมล จันทร์ฉาย นางสาวสิรินุช ยางงาม จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และนางสาวธัญลักษณ์ สีลาจันทร์ จากภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกันดำเนินงานวิจัยเพื่อศึกษาการใช้กากรำข้าวที่เหลือหลังจากสกัดน้ำมันออกไปแล้วของโรงงานผลิตน้ำมันรำข้าว มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตโปรตีนที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่และฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยคำนึงถึงการรักษาสารสำคัญที่มีอยู่
Read moreผศ.ดร.ชลิดา เนียมนุ้ย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำการศึกษากระบวนการใช้ความร้อนในการทำให้รำข้าวคงตัว โดยศึกษาสภาวะการอบแห้งรำข้าวแบบไอน้ำร้อนยวดยิ่งเปรียบเทียบกับแบบอากาศร้อนในการอบแห้งที่มีต่อคุณภาพของรำข้าว ศึกษาผลของเทคนิคและอุณหภูมิในการอบแห้งที่มีผลต่อจลพลศาสตร์การอบแห้งและความคงตัวของรำข้าวหลังการอบแห้ง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของรำข้าวอบแห้งระหว่างการเก็บรักษา โดยใช้รำข้าวหอมมะลิ 105 จากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
Read moreรศ.ดร.โชคชัย ธีรกุลเกียรติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดธรรมชาติจากพืช คือน้ำสับปะรด เปลือกสับปะรด และรำข้าวในการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์ในผัก ผลไม้ เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปลอดภัยในเชิงพาณิชย์ ในการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาล สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปผัก ผลไม้แทนการใช้สารเคมีประเภทซัลไฟต์ที่มักใช้กันอยู่ในปัจจุบันที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค
Read moreผลิตภัณฑ์โปรตีน และโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วย โปรตีน 30-40% ชนิดและปริมาณกรดอะมิโน มีมากเทียบเคียงกับโปรตีนจากพืชอื่นๆ โดยเฉพาะกรดอมิโนจำเป็น มีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด 4.11-14.70 mg GAE/g จึงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ทั้งนี้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตในระดับขยายผล ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทั้งคุณค่าทางอาหารสูงและฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพผู้บริโภค ด้วยโปรตีนรำข้าวเป็นโปรตีนที่ไม่ทำให้เกิดการแพ้ และยังย่อยง่ายจึงเหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ติดต่อได้ที่ ดร.สุคันธรส ธาดากิตติสาร ฝ่ายนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โทร.0-2942-8599
Read more