หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร

ย้อนไปเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สมัยนั้นฐานข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ยังไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนยุคนี้ แบบฟอร์มทุกอย่างเป็นกระดาษ โดยที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และทางกระทรวงเกษตร ได้มีการสำรวจหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย ว่าหน่วยงานใดมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์สนเทศ ทางการเกษตรแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2523 ซึ่งตอนนั้นสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการคัดเลือกเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมที่สุดในประเทศ จึงทำหน้าที่เป็นแหล่งจัดเก็บ รวบรวมสารสนเทศการเกษตรแห่งประเทศไทย

Read more

ลูกชิ้นหมูเสริมใยอาหารจากกากข้าวโพด

นางสาวสุวีณา จันทพิรักษ์ และทีมนักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภัคชนม์ คลองดี นางสาวบงกชมาศ โสภา และนายนิพัฒน์ ลิ้มสงวน จึงทำการศึกษาการสกัดใยอาหารจากกากข้าวโพด ที่เป็นของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำนมข้าวโพด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ลูกชิ้น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับผลิตภัณฑ์ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เพื่อทดแทนไขมันในผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นทางเลือกและเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพด และพัฒนาคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเสริมใยอาหาร ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

Read more

การเก็บรักษามะขามเปียกเพื่อการส่งออก

รศ.ดร.สุรัสวดี พรหมอยู่ และผศ.ดร.อรัญญา พรหมกูล จากภาควิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนสีเนื้อมะขามที่เป็นสีดำคล้ำระหว่างการเก็บรักษา โดยหาวิธีการลดหรือชะลอหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงอาการดังกล่าวให้มะขามเปียกมีคุณภาพด้านสีเป็นที่ยอมรับของตลาด โดยการไม่ใช้ห้องเย็นเพื่อเป็นการลดต้นทุนการเก็บรักษาสินค้า

Read more

การใช้ผงถั่วในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมลดไขมัน

ทีมนักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภัคชนม์ คล่องดี นางสาวสุวีณา จันทพิรักษ์ นายนิพัฒน์ ลิ้มสงวน นางสาวกัษมาพร ปัญต๊ะบุตร และ นายวรพล เพ็งพินิจ จึงมีแนวคิดในการนำคุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติของโปรตีนในถั่ว มาปรับปรุงคุณสมบัติความเป็นอิมัลซิฟายเออร์ด้วยกระบวนการเอกซ์ทรูชันร่วมกับเพคติน และศึกษาถึงความสามารถของผงถั่วต่อคุณสมบัติของไอศกรีมลดไขมัน

Read more

การพัฒนาเรือพลังงานสะอาด

ผศ.ดร.ยอดชาย เตียเปิ้น จากภาควิชาวิศวกรรมทางทะเล คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกดษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และทีมนักวิจัย จึงได้ร่วมกันทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาเรือพลังงานสะอาดโดยการใช้พลังงานไฟฟ้า สำหรับให้บริการรับส่งผู้โดยสารในคลองแสนแสบ เพื่อทดแทนเรือเครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Read more

การผลิตเส้นใยนาโนเพื่อประยุกต์ใช้เป็นผ้าปิดแผล

ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ และทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาทางลดปัญหาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเส้นใยนาโน โดยการสร้างระบบการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้าสถิต (electrospinning) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตเส้นใยนาโนที่ไม่มีความซับซ้อนของเครื่องมือเมื่อเทียบกับวิธีอื่น เพื่อใช้ผลิตเส้นใยนาโนจากพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ และทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพของเส้นใยนาโนที่ผลิตได้กับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ต่อไป

Read more

การสร้างแอนติบอดีไข้หวัดใหญ่โดยเทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบ

ผศ.ดร.จักร แสงมา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากแอนติบอดีลอกแบบ ที่มีความจำเพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพสูง สามารถทดสอบหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น เพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการตรวจ รวมทั้งลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก

Read more

KUML ถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย ผศ. ดร. ประกิจ สมท่า
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน
วิทยาเขตกำแพงแสน

Read more

ยกระดับผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้พันธุ์ไทยสู่มาตรฐานสากล

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.วิน เชยชมศรี รศ.ดร.จินดาวรรณ สิรินทวิเนติ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และดร.สุดาวรรณ เชยชมศรี จากคณะเกษตร กำแพงแสน จึงมีแนวความคิดในการศึกษาเรื่องระบบภูมิคุ้มของจระเข้อย่างจริงจัง จนพบว่า เลือดของจระเข้มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทานแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารในหนูทดลอง เสริมสร้างฮีโมโกบิลของหนูที่มีสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และช่วยให้หนูมีค่าฮีโมโกบิลในเลือดสูงขึ้นภายใน 4 สัปดาห์

Read more

เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อพลังงานสีเขียว

ดร.พงษ์ศักดิ์ เฮงนิรันดร์ และคณะนักวิจัย จากภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ BlacK Pellet เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพอีกประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงดีกว่าไม้พลังงาน ชิ้นไม้สับ (wood chip) และเชื้อเพลิงอัดเม็ด (wood pellet) โดยพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบในการใช้พลังงานสีเขียวเบื้องต้นอย่างครบวงจร เนื่องจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสถานีฝึกนิสิตที่มีความร่วมมือกับชุมชนอยู่แล้วในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จึงทำการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ชีวมวลที่มีอยู่ในพื้นที่ร่วมกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม

Read more