แอปพลิเคชันฟาร์มดีมีสุข
รองศาสตราจารย์วัชรี วีรคเชนทร์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2940-7052
รองศาสตราจารย์วัชรี วีรคเชนทร์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2940-7052
อาจารย์สกล ฉายศรี
สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร
มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ โทร.08-2246-0483
ปรเมศ แสนยากุล
สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-2883-9060
ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ ศรีวงษ์ราช
ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2579-0588 ต่อ 1519,1520
(เบอร์มือถือ 0819409903)
มันสําปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 80 เป็นมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เกษตรศาสตร์ 75 กับพันธุ์ระยอง 11 ในปี พ.ศ 2557 ปลูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนบน จำนวน 32 สถานที่ ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 5.8 ตันต่อไร่ มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย 32 เปอร์เซ็นต์และผลผลิตแป้งเฉลี่ย 1.75 ตันต่อไร่ สูงกว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 และพันธุ์ CMR 43-0 8-89 ลงหัวเร็ว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป สามารถปลูกและปรับตัวได้ดี ทนต่อสภาวะฝนทิ้งช่วง และทนต่อสภาวะหัวเน่าเมื่อฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ต้นพันธุ์เมื่อตัดแล้วสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานก่อนปลูก เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายและดินออกทราย สอบถามได้ที่ อาจารย์สกล ฉายศรี สถานีวิจัยลพบุรี คณะเกษตร มหาวิทยาศาสตร์ โทร.08-2246-0483
Read moreถั่วลิสงขนาดเมล็ดโต ให้ผลผลิตฝักเฉลี่ย 479.11 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 183.33 กิโลกรัม/ไร่ เปอร์เซ็นต์กะเทาะเฉลี่ย 55.51 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 100 เมล็ด เฉลี่ย 71.88 กรัม และจำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 30.42 ฝัก สอบถามได้ที่ นิพัทธ์ฌา พอบขุนทด สถานีวิจัยและพัฒนาอาชีพแกเกษตรกร ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 092 6383493
Read moreข้าวโพดเกษตรศาสตร์ 3 เป็นพันธุ์ข้าวโพดที่มีเกสรตัวผู้ไม่ฟุ้งกระจายไปผสมกับเกสรตัวเมีย ช่วยในเรื่องการถอดยอดเกสร น้ำหนักดี ให้ผลผลิตเยอะ เนื้อไม่เหนียว ไม่มีเม็ด ไร้แมลงรบกวน สอบถามได้ที่ ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-4436-1770-6
Read moreเครื่องสแกนมะพร้าวน้ำหอม ด้วยระบบ Near Infrared (NIR) โดยการใช้เทคนิคที่รวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายผลผลิต ซึ่งเครื่องนี้สามารถวิเคราะห์จำนวนชั้นเนื้อของมะพร้าวอ่อน และช่วยลดความเสี่ยงในการส่งออกมะพร้าวที่มีชั้นเนื้อไม่ได้ตามเกณฑ์ไปยังผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยลดความสูญเสียจากการแตกของมะพร้าวในระหว่างการขนส่ง ซึ่งเกิดจากการส่งออกมะพร้าวที่อ่อนเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวที่มีชั้นเนื้อเหมาะสม และลด/กำจัดการปฎิเสธสินค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐานของผู้ประกอบการได้อีกด้วย สอบถามได้ที่ ผศ.ดร.รณฤทธิ์ ฤทธิรณ ห้องปฏิบัติการ Near Infrared ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 085-9171017
Read moreการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบการปลูกพืช ไม่ว่าจะเป็นระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือระบบปลูกพืชหลายชนิด ซึ่งมีทั้งการปลูกพืชแซม การปลูกพืชเหลื่อมฤดู การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชผสม และการปลูกพืชเรียงลำดับ จะดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โครงสร้างดิน ธาตุอาหารพืช การเลือกชนิดของพืชที่เหมาะสม รวมทั้งปัจจัยทางด้านอัลลิโลพาธี (Allelopathy) ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการปลูกพืช อัลลิโลพาธี
Read more