การเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ/กำจัด รื่นเริงดี

  เรื่อง  การเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ในชีวิตประจำวัน ร่างกายของคนเราควรที่จะรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้สูงอยู่เสมอ ซึ่งส่วนหนึ่งได้มาจากโปรตีนที่บริโภค วิธีที่ดีที่สุดคือการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดของการบริโภคเนื้อสัตว์โปรตีนสูงก็คือ การบริโภคปลานั่นเอง เพราะในปลานั้นมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง การบริโภคปลาทุกวันจึงเป็นอีกทางหนึ่งในการเพิ่มภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ท่านคงพอรู้จักกับปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยมีการบริโภคปลาชนิดนี้สูงถึง 30 % ของการบริโภคปลาทั้งหมด เพราะเป็นปลาที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ อีกทั้งยังมีราคาย่อมเยา สามารถหาซื้อมารับประทานได้ตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย

Read more

การเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ

สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้เริ่มทำการเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 เป็นต้นมา โดยนายปณิธาน แก้วจันทวี นักวิชาการประมง พร้อมทีมวิจัย ได้พัฒนาระบบและกระบวนการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ รวมทั้งการจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลานิลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกพันธุ์ปลามีการเจริญเติบโตดี อัตรารอดสูง อัตราแลกเนื้อต่ำ เป็นที่ต้องการของตลาด

Read more

TILAVAC : วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ในปลานิลและปลาทับทิม

ผศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ และทีมวิจัย จึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนา TILAVAC ให้เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ในปลานิลและปลาทับทิม เป็นวัคซีนต้นแบบทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย ผลิตจากเชื้อไวรัสที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย วัคซีนที่พัฒนาขึ้นนี้ มีทังแบบให้โดยการฉีดและโดยการแช่ในน้ำ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันปลา ทำให้เพิ่มอัตราการรอดตาย และลดอัตราป่วยจากเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ ลดการใช้ยาและสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลดการนำเข้ายาและสารเคมีจากต่างประเทศ ช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนการเลี้ยงปลา เป็นการลดปัญหาเชื้อดื้อยา ขณะเดียวกันเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

Read more

อุปกรณ์ลำเลียงปลานิลขึ้นจากบ่อ

ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.ศุภกิตต์ สายสุนทร จากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงมีแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ลำเลียงปลานิลขึ้นจากบ่อ เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือทุ่นแรงมาช่วยในกระบวนการลำเลียงปลานิลขึ้นจากบ่อโดยไม่ทำให้ปลานิลเกิดความบอบช้ำเสียหาย

Read more

ผลของยาต้านจุลชีพเอนโรฟลอกซาซินและในพลาสม่าปลานิล

ผลงานวิจัยของ อาจารย์ สพ.ญ. อุสุมา เจิมนาค จากภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์หรือผลของยาเอนโรฟลอกซาซินและเมตาบอไลต์ในพลาสมา เป็นข้อมูลสำคัญซึ่งนำมาใช้ประกอบการใช้ยาในการรักษาการติดเชื้อจุลชีพในปลานิลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

Read more

รายการวิทยุ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบระบบการเพาะพันธุ์ปลานิล/เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์

ผลงานวิจัยของ นายเรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์ นายประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ นายสุบรรณ เสถียรจิตร และนายฉัตรชัย ไทยทุ่งฉิน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบการเพาะพันธุ์ปลานิล 3 ระบบ คือ การเพาะพันธุ์ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และในกระชังแขวนลอยในบ่อดิน ที่มีต่อผลผลิต กำลังผลิตของไข่ อัตรารอดของลูกปลานิลระยะถุงไข่แดงยุบ และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์

Read more

ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาวัคซีน สาหรับการเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย”

รายละเอียด

Read more