การประยุกต์ใช้ถ่านกัมมันต์ในบรรจุภัณฑ์ และแผ่นชะลอการสุกของผลไม้

รศ.ดร.ศิริกาญจนา ทองมี
ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โทร. 08-6999-3234

Read more

ฟิล์มบรรจุภัณฑ์อาหารจากเลือดหมู

รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์
ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

Read more

ฉลากชีวภาพ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ

ฉลากชีวภาพ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ที่อยู่ในรูปแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ และช่วยในการตรวจสอบประเมินคุณภาพและความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์อาหาร ฉลากจะเปลี่ยนสีเมื่อได้รับแก๊สออกซิเจน ซึ่งผู้บริโภคสามารถรับรู้ถึงคุณภาพอาหารในฉลากได้ สอบถามได้ที่ รศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.09-5365-1796

Read more

ฉลากชีวภาพ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ

รศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล และนายสุรชัย ขันแก้ว จากภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดแก๊สออกซิเจนที่สามารถกระตุ้นได้ด้วยแสงยูวี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับติดตามสถานภาพแก๊สออกซิเจนภายในบรรจุภัณฑ์ โดยแปรผันตรงต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารโดยมุ่งเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่เสื่อมสภาพด้วยปฏิกริริยาออกซิเดชั่นของไขมัน เช่นกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป โดยได้พัฒนาตัวชี้วัดแก๊สออกซิเจนในรูปแบบของหมึกพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์ได้ด้วยระบบการพิมพ์เชิงพาณิชย์ เช่นระบบการพิมพ์เฟลกโซกราฟี (Flexographic Printing) ละระบบการพิมพ์สกรีน (Screen Printing) โดยได้ออกแบบและผลิตให้อยู่ในรูปของ ฉลากตัวชี้วัดที่เคลือบปิดทับด้วยวัสดุที่ปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน โดยใช้วิธีปิดผนึกภายในบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุแบบปรับสภาพบรรยากาศ หรืแบบสุญญากาศ ร่วมกับอาหาร

Read more

พลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย

พลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย โดยการนำวัสดุธรรมชาติภายในประเทศมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่รับประทานกันทั่วไป และเป็นพืชที่ปลูกง่ายในทุกภาคของประเทศ สามารถนำกล้วยน้ำว้าดิบมาผลิตเป็นแป้งกล้วย จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วย โดยนำแป้งกล้วยดิบและแป้งกล้วยดัดแปรด้วยวิธีครอสลิงแบบไดสตาร์ชฟอสเฟต (cross-linking method with distarch method) และส่วนประกอบอื่น ได้แก่ พลาสติไซเซอร์ และเส้นใยกาบกล้วยมามาเสริมความแข็งแรง รวมทั้งการนำพอลิแลกติกแอซิด (polylactic acid, PLA) เข้ามาร่วมเพื่อผลิตเป็นฟิล์ม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการแพร่ผ่านของไอน้ำ และเสริมความแข็งแรงให้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ สามารถนำไปผลิตเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร และผักผลไม้ ทดแทนบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกสังเคราะห์ได้ เนื่องจากเป็นบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ ติดต่อได้ที่ รศ.ดร. รังสินี โสธรวิทย์ และทีมวิจัยภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Read more