ชีวประวัติโดยย่อ : ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

 ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์  ศรีนิเวศน์ เกิดวันที่ 13 กันยายน 2493 ที่จังหวัดสมุทรสาคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2514 ระดับปริญญาโท สาขาพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2517 หลังจากนั้นได้รับบรรจุเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร

Read more

ถั่วเขียว : อนาคตงานวิจัยถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยรวมยังคงต้องอิงอยู่กับจุดแข็งของมหาวิทยาลัยฯ คือ การวิจัยด้านการเกษตร และนักวิจัยแต่ละคน คงต้องทำงานทั้งด้านพื้นฐานและประยุกต์ เนื่องจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯมีไม่มาก จึงต้องพึ่งผลงานวิจัยของนิสิต โดยเฉพาะนิสิต บัณฑิตศึกษาอีกด้วย ซึ่งวิทยานิพนธ์ของนิสิตต้องเป็นของใหม่ จึงจะสามารถตีพิมพ์เพื่อประกอบการจบการศึกษาได้ ประกอบกับการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัยฯโดยสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ต้องการหลักฐานส่วนหนึ่งที่เป็นผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ทำให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องสร้างวัฒนธรรมการตีพิมพ์ขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มหาวิทยาลัยฯจึงควรรับบุคคลกรที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของการเป็นอาจารย์/นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ และต้องมี job description ให้บุคลากรใหม่ต้องตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่เป็นที่ยอมรับของสากลเป็นระยะ ๆ

Read more

ถั่วเขียว : ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML 4

  แหล่งที่มาและประวัติ ถั่วเขียวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ KUML4 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ VC 4152C กับ VC 1560A ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อแม่ที่คัดเลือกมาจากสายพันธุ์ถั่วเขียวของ Asian Regional Center ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเอเชีย (AVRDC) โดยคัดเลือกจากประชากรชั่วที่ 2 ต้นที่ 12

Read more

ถั่วเขียว : ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML 3

แหล่งที่มาและประวัติ ถั่วเขียวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ KUML3 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ VC 4152C กับ VC 1560A ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อแม่ที่คัดเลือกมาจากสายพันธุ์ถั่วเขียวของ Asian Regional Center ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเอเชีย (AVRDC) โดยคัดเลือกจากประชากรชั่วที่ 2 ต้นที่ 12 แล้วปลูกแบบต้นต่อแถว

Read more

ถั่วเขียว : ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML 1

แหล่งที่มาและประวัติ ถั่วเขียวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ KUML1 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ VC6040A กับ VC6209-1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อแม่ที่คัดเลือกมาจากสายพันธุ์ถั่วเขียวของ Asian Regional Center ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเอเชีย (AVRDC) โดยคัดเลือกจากประชากรชั่วที่ 2 ต้นที่ 10 แล้วปลูกแบบต้นต่อแถว ในชั่วต่อมาคัดเลือกต้นที่ 1

Read more

ถั่วเขียว : การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1

[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=Y2CqdHaroe0[/youtube] งานวิจัยด้านถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มในช่วงปี พ.ศ. 2515-2520  ซึ่ง ผศ.ดร.ประสาน  ยิ่งชล เป็นหัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และเป็นหัวหน้าโครงการปลูกพืชเหลี่อมฤดู (multiple cropping system) ได้ใช้ถั่วในระบบการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ปลูกสลับ (intercropping) และปลูกข้ามฤดู

Read more

ถั่วเขียว: ประวัติการพัฒนาการวิจัยถั่วเขียวในประเทศไทย

    ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศไทยเริ่มปลูกถั่วเขียวเมื่อใด แต่จากบันทึกของนักวิชาการที่ดำเนินการวิจัยด้านถั่วเขียว ได้บันทึกไว้ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2492 ถั่วเขียวที่เกษตรกรปลูกในขณะนั้นมีเมล็ดเล็กมาก น้ำหนักเมล็ดที่ปลูกในอัตราเพียง 2.75 กก./ไร่ ตัวอย่างเช่นพันธุ์ ‘ศรีสำโรง’เป็นถั่วเขียวที่เกษตรกรในจังหวัดสุโขทัยนิยมปลูก ผลผลิตเฉลี่ยจะได้ประมาณ 85 กก./ไร่ ซึ่งถ้าปลูกในต้นฤดูฝนจะไม่ออกดอก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมากจนถึงกับต้องระบุวันปลูกไว้ว่าควรปลูกระหว่างวันที่ 15-30 กันยายนของทุกปี

Read more