KUML 4 : ถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ของ ม.เกษตร

ถั่วเขียวผิวมันเป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่วที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี คือ ฤดูแล้งหลังการทำนาปี ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนหลังเก็บเกี่ยวพืชไร่หลัก ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ใช้ในระบบปลูกพืชหมุนเวียน ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากมีระบบรากที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ผลผลิตเมล็ดถั่วเขียว ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด อาทิ วุ้นเส้น ซ่าหริ่ม ถั่วซีก และแป้งถั่วเขียว  รวมทั้งใช้บริโภคโดยตรงในรูปของถั่วเขียวต้มน้ำตาล

Read more

ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML5 โดยศ.ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และทีมผู้วิจัย

ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML5 เป็นสายพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคราแป้งและใบจุดสูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 1 และกำแพงแสน 2 ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง ไม่หักล้ม ช่อดอกดก ฝักดก ฝักชูเหนือทรงพุ่ม ฝักแก่มีสีฟางข้าว อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน ฝักจะมีลักษณะกลมยาว ติดฝักเป็นช่อดก ส่วนปลายของฝักโค้งขึ้นเล็กน้อย ฝักแก่มีสีฟางข้าว มีเมล็ดสีเขียวสด มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ 75 กรัม ติดต่อได้ที่ ศ.ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน โทร. 034-281266

Read more

ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML3 โดย ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML3 มีคุณลักษณะเด่น ฝักดก เมล็ดโต มีใบสีเขียวลำต้นตั้งตรงแข็งแรง โคนต้นใหญ่ไม่หักล้ม ช่อดอกดก ฝักใหญ่ชูเหนือทรงพุ่ม อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด สอบถามได้ที่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร.0-3428-1266

Read more

ถั่วงอกเพาะเอง…เพื่อสุขภาพดี๊ดี

ถั่วงอกเป็นผลผลิตจากถั่วเขียวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สะอาด ถูกหลักอนามัย เพาะได้ง่าย ใช้เวลาน้อย สามารถเพาะได้ในที่ร่มตลอดทั้งปีทุกฤดูกาล ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงในการผลิตหรือกระบวนการผลิต

Read more

ถั่วเขียว : งานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยด้านอื่น ๆ ที่ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ได้ร่วมงานกับนักวิจัยหลายท่าน ทำงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการปลูกพืช พันธุศาสตร์ และการปรับปรุงพันธุ์พืชผัก (มะเขือจาน แตงกวา มะเขือเทศ) ไม้ผล (มะละกอ ขนุน) ไม้ดอก (ดาวเรือง แพงพวย) พืชไร่อื่น ๆ

Read more

ถั่วเขียว : ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML 2

    แหล่งที่มาและประวัติ ถั่วเขียวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ KUML2 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากลูกผสมระหว่างสายพันธุ์  VC4152C กับ VC1560A ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อแม่ที่คัดเลือกมาจากสายพันธุ์ถั่วเขียวของ Asian Regional Center ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเอเชีย (AVRDC) โดยคัดเลือกจากประชากรชั่วที่ 2 ต้นที่ 12 แล้วปลูกแบบต้นต่อแถว

Read more

ถั่วเขียว : การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1

[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=Y2CqdHaroe0[/youtube] งานวิจัยด้านถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มในช่วงปี พ.ศ. 2515-2520  ซึ่ง ผศ.ดร.ประสาน  ยิ่งชล เป็นหัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และเป็นหัวหน้าโครงการปลูกพืชเหลี่อมฤดู (multiple cropping system) ได้ใช้ถั่วในระบบการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ปลูกสลับ (intercropping) และปลูกข้ามฤดู

Read more

ถั่วเขียว: ประวัติการพัฒนาการวิจัยถั่วเขียวในประเทศไทย

    ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเทศไทยเริ่มปลูกถั่วเขียวเมื่อใด แต่จากบันทึกของนักวิชาการที่ดำเนินการวิจัยด้านถั่วเขียว ได้บันทึกไว้ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2492 ถั่วเขียวที่เกษตรกรปลูกในขณะนั้นมีเมล็ดเล็กมาก น้ำหนักเมล็ดที่ปลูกในอัตราเพียง 2.75 กก./ไร่ ตัวอย่างเช่นพันธุ์ ‘ศรีสำโรง’เป็นถั่วเขียวที่เกษตรกรในจังหวัดสุโขทัยนิยมปลูก ผลผลิตเฉลี่ยจะได้ประมาณ 85 กก./ไร่ ซึ่งถ้าปลูกในต้นฤดูฝนจะไม่ออกดอก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสงมากจนถึงกับต้องระบุวันปลูกไว้ว่าควรปลูกระหว่างวันที่ 15-30 กันยายนของทุกปี

Read more

ถั่วเขียว: ความสำคัญของงานวิจัย

           ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกกันทั่วไปในพื้นที่เขตร้อน อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า บังกลาเทศ อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย รวมถึงทางตอนใต้ของแถบยุโรป และอเมริกาใต้บางประทศ ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตสั้น ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 65 วัน

Read more

งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถั่วเขียว ชื่อสามัญ Mung Bean, Green Bean ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna radiate L. Class Angiospermae Subclass Dicotyledonae Family Papilionaceae Genus Vigna Species radiate

Read more