ผลิตภัณฑ์ปรุงรสปลาทูน่าความเค็มต่ำ

ผลิตภัณฑ์ปรุงรสปลาทูน่าความเค็มต่ำ เพื่อทดแทนน้ำปลา โดยการนำเศษเหลือของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่ากระป๋อง มาเป็นวัตถุดิบผลิตเครื่องปรุงรสความเค็มต่ำ เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณสูง สอบถามได้ที่ ดร.จีรภา หินซุย และนางสาวณิชาภัทร เดชกำแหง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2942-8644

Read more

เอนไซม์ขอดเกล็ดปลา

เอนไซม์ขอดเกล็ดปลา สกัดจากเครื่องในปลาทูน่าที่เหลือจากการแปรรูปในโรงงานปลาทูน่ากระป๋อง สามารถขอดเกร็ดปลาได้ทุกชนิด ในปริมาณมาก โดยที่เนื้อปลายังคงความสด ปลาไม่ช้ำ เนื้อสัมผัส และรสชาติของปลาคงเดิม ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิ 15 – 35 องศาเซลเซียส สามารถนำน้ำเอนไซม์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำได้ สอบถามได้ที่ ดร.จีรภา หินซุย ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2942-8645 ต่อ 28

Read more

ผลิตภัณฑ์ปรุงรสความเค็มต่ำ

ผศ.ดร.จีรภา หินซุย และนางสาวณิชาภัทร เดชกำแหง จากภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปรุงรสความเค็มต่ำ โดยทำการหมักไส้ปลาและอวัยวะภายในของปลาทูน่า ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้จากเศษเหลือของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่ากระป๋อง เพื่อผลิตเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร เพิ่มความกลมกล่อมให้รสชาติอาหาร เป็นการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือจากโรงงานแปรรูปปลาทูน่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์

Read more

คอลลาเจนแมงกะพรุน : เพิ่มมูลค่าของดี จากแมงกะพรุน

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว มักจะพบปรากฏการณ์ที่เหล่าแมงกะพรุนหลากสีนับหมื่นลอยเต็มท้องทะเล กินพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะบริเวณชายหาดจังหวัดตราด ระยอง ประจวบคีรีขันธ์  ตรัง และกระบี่ สีสันสวยงาม เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ แก่นักท่องเที่ยว พากันมาชมและถ่ายภาพ  ขณะที่ชาวบ้านพากันใช้สวิงมาตักแมงกะพรุนนำไปดอง ส่งขาย ปัจจุบันประเทศไทยจะบริโภคแมงกะพรุนที่ผ่านการแปรรูปด้วยการดองเกลือและสารส้ม ขายทั้งแบบสด และตากแห้ง ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงนัก และยังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น   เนื้อแมงกะพรุนมีคุณค่าทางโภชนาการ

Read more