พันธุ์ข้าวโพดที่พัฒนาโดยโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

         การดำเนินงานวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มต้นจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดชนิดผสมรวมจากการปลูกทดสอบข้าวโพดพันธุ์ต่าง ๆ หลายต่อหลายพันธุ์จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถรวบรวมลักษณะที่ดีต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นได้ และเมื่อประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดผสมรวม (composites) ดังเช่น พันธุ์สุวรรณ 1 โครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด จึงได้ดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์แท้ของข้าวโพด

Read more

ข้าวโพด : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด

1.โครงการวิจัย ณ ไร่สุวรรณ จุดเริ่มต้นงานวิจัยและแหล่งสร้างนักวิจัยพืชไร่ มก.           พ.ศ. 2505 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับ กรมกสิกรรม(กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) และมูลนิธร็อกกี้เฟลเลอร์ได้จัดตั้งโครงการประสานงานปรับปรุงการผลิตข้าวโพด(Co-ordination Project for Corn Improvement

Read more

ข้าวโพด : การแพร่กระจายของข้าวโพดสู่ประเทศไทย

พ.ศ.2223  ชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำข้าวโพดเข้ามาสู่ประเทศไทย สำหรับประเทศไทยนั้น จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ข้าวโพดไม่ใช่พืชพื้นเมืองของไทย แต่ไม่อาจทราบแน่ชัดว่าบรรพบุรุษของไทยรู้จักปลูกข้าวโพดตั้งแต่เมื่อใด  ถึงแม้จะมีนักค้นคว้าบางท่านกล่าวว่า ชนชาติไทยอาจรู้จักปลูกข้าวโพดกันมาก่อนที่จะอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมทองเสียอีก บางท่านสันนิษฐานว่าได้รับข้าวโพดมาจากอินเดีย แต่ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด หนังสือพรรณไม้ต่างประเทศของพระยาวินิจวนันดร กล่าวว่า ข้าวโพด ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส ในปี พ.ศ.2223 แต่เป็นพันธุ์ประเภทใดไม่ปรากฏ  และมีจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์

Read more

ข้าวโพด : การจำแนกชนิดของข้าวโพด

1. จำแนกตามลักษณะเมล็ด ข้าวโพดหัวแข็ง  (Flint corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea  mays indurata   มีลักษณะเมล็ดค่อนข้างแข็ง เมล็ดเรียบ กลม ไม่พบส่วนบุ๋มบนเมล็ด เพราะมีแป้งชนิดอ่อนอยู่ตรงกลาง แต่ด้านนอกถูกห่อหุ้มด้วยแป้งชนิดแข็ง   ข้าวโพดหัวบุ๋ม Dent corn : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 

Read more