เรือเพื่อการเกษตร
ปัจจุบันวิถีการทำนาในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต อดีตทำนาเฉพาะหน้าฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันมีระบบชลประทาน ทำให้ชาวนาสามารถทำนาได้ตลอดทั้งปี ปัญหาที่ตามมา คือ เมื่อดินมีน้ำขัง และใช้งานพื้นดินมาก ก็จะทำให้ดินมีลักษณะเป็นดินหล่มเลน และมีซากอินทรีย์วัตถุทับถมทำให้ดินยุบลงตัวได้ง่าย ทำให้หากใช้เครื่องจักรที่มีน้ำหนัก หรือล้อที่มีน้ำหนักมากไถนา หรือขลุบย่ำนา ในการเตรียมดินก่อนเพาะปลูก เครื่องจักรส่วนใหญ่ก็จะติดหล่ม จมในดินที่เป็นเลน หรือทรายกระทิ ทำให้เสียเวลา และอาจไม่เป็นไปตามแผนการเพาะปลูก จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะสร้างเรือไถนา เพื่อใช้ไถนาในพื้นที่ที่มีน้ำขัง และดินเป็นเลน เพื่อลดปัญหาการเตรียมดินแบบใช้เครื่องจักร จึงได้ทำการออกแบบโครงให้เป็นลักษณะเรือท้องแบน โดยตัวเปลือกเรือจะไม่จม หรือถูไปกับผืนนา ทำให้ช่วยลดปัญหาการติดหล่มได้
เรือเพื่อการเกษตร ใช้เป็นเรือไถนา เป็นการออกแบบเรือประยุกต์เข้ากับรถไถเดินตาม โครงสร้างของตัวเรือถูกออกแบบให้เป็นเรือท้องแบน มีปีกกันโคลงด้านข้าง ตัวเรือมีตำแหน่งรูยึดผาน ติดอยู่บริเวณท้ายเรือ มีส่วนสำหรับติดตั้งล้อด้านข้างทั้งสองข้าง เพื่อช่วยในการตีดิน และมีที่นั่งสำหรับคนขับ เพื่อขับเคลื่อนไปในที่นาตม หรือนาน้ำท่วมสูง
ผลงานวิจัยโดย :
ดร. วรยศ ละม้ายศรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ โทร.08-7 138-4464
ผศ.ดร. ฉัตรชัย เอี่ยมพรสิน สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ภาควิชา วิศวกรรมทางทะเล คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ โทร. 08-2292-9595
ผศ.ดร. วลีพรรณ กันเนื่อง สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ภาควิชา วิศวกรรมทางทะเล คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ โทร.0-94 561-9129
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ดร. วรยศ ละม้ายศรี
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6