รถจักรยานยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2035 รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะหลักในการเดินทางของประชาชนในเมือง รวมถึงภายในมหาวิทยาลัย ประเทศไทยมีจำนวนรถจักรยานยนต์กว่า 23 ล้านคันทั่วประเทศ กว่า 20% อยู่ในกรุงเทพมหานคร จักรยานยนต์เหล่านี้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ผลิตมลพิษทางเสียง อากาศ ก๊าซเรือนกระจกและฝุ่นขนาดเล็กจำนวนมาก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์และทีมวิจัย จึงได้พัฒนาจักรยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนขึ้น ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงสะอาดเมื่อเกิดการสันดาปจะมีเพียงน้ำเท่านั้นที่เป็นผลลัพธ์ ไม่ก่อให้เกิดกลุ่มควัน ฝุ่นละออง หรือก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถรุ่นที่ 1 ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะสำหรับการเดินทางในพื้นที่ปิด เช่น มหาวิทยาลัย หมู่บ้าน โรงงาน โรงแรม ลดการเกิดมลพิษและอุบัติเหตุในพื้นที่ได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวรถมีหน้าจอแสดงความเร็วและเชื้อเพลิงคงเหลือ น้ำหนักรถ 25 กก. และ บรรทุกน้ำหนักได้กว่า 100 กก. การเติมไฮโดรเจน 1 ครั้งสามารถวิ่งได้ระยะทางกว่า 50 km. ที่ความเร็ว 25 km/hr. เติมเชื้อเพลิงได้ด้วยระบบ Swap สลับเปลี่ยนถังไฮโดรเจนได้รวดเร็วและปลอดภัยด้วยระบบ Quick Connect มีวาล์วควบคุมการทำงานของไฮโดรเจนเพื่อป้องกันการรั่วไหล เพิ่มความปลอดภัยขณะขับขี่
ผลงานวิจัยโดย :
รศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ และคณะวิจัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โทร. 0-2797-0999
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6