KURDI ติดตามและประเมินผลฯ การดำเนินงานวิจัย: ด้านอาหาร

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานวิจัย ตามกรอบการสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมทับทิม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
📗 ผลงานวิจัยนำเสนอดังนี้ 📗
⭐️ FF(KU)34.66 การพัฒนากระบวนการสกัดแยกองค์ประกอบในกากถั่วเหลืองเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตนมถั่วเหลือง (โอคารา) เพื ่อนำไปพัฒนาเป็นนาโนเซลลูโลสและอนุพันธ์ และการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารเชิงฟังก์ชันและบรรจุภัณฑ์
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนากระบวนการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์วิกฤตยิ่งยวดและประเมินคุณภาพของน้ำมันและใยอาหารจากกากถั่วเหลือง (โอคารา) (ดร.อัญชลี อุษณาสุวรรณกุล)
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตผงนาโนเซลลูโลสจากกากถั่วเหลืองซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำเต้าหู้ โดยใช้พลังงานกลจากกระบวนการเอกซ์ทรูชัน (ดร.หทัยชนก กันตรง)
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การพัฒนาและศึกษาสมบัติของฟิล์มที่เตรียมจากคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และโปรตีนที่สกัดจากวัสดุเหลือทิ้งจากถั่วเหลือง (โอคารา) (นางปรียานุช สีโชละ)
นำเสนอโดย ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย : ดร.อัญชลี อุษณาสุวรรณกุล สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
⭐️ FF(KU)37.66 การผลิตและการใช้ประโยชน์จากโพลีแซคคาไรด์ โปรตีนไฮโดรไลเซท และสารสำคัญจากพืชสมุนไพรไทย เพื่อการออกแบบอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาผลของใยอาหารที่สกัดจากกระเจี๊ยบเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเคมีกายภาพของข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวสำหรับผู้สูงอายุ (นางสาวศิริพร ตันจอ)
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซททางเลือกจากใบมะรุมที ่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การปรับภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับการอักเสบ สำหรับประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารฟังก์ชัน (ดร.ซาฟียะห์ สะอะ)
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิเคราะห์โปรตีนไฮโดรไลเซทจากเมล็ดกระเจี๊ยบเขียวที่มีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและมีผลต่อเซลล์แมคโครฟาจ (ดร.สมัชญา งามสุข)
โครงการวิจัยย่อยที่ 4 ศักยภาพในเชิงป้องกันโรคอัลไซเมอร์และสร้างเสริมความสามารถในการตอบสนองทางกายภาพของผู้สูงอายุที่ได้รับอาหารไทยที่มีโคลีนสูง (นางจันทร์เพ็ญ แสงประกาย)
นำเสนอโดย ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย : นางสาวศิริพร ตันจอ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
⭐️ FF(KU)38.66 การพัฒนาและศึกษาคุณสมบัติเชิงสุขภาพในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโปรตีนจากพืชสู่เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 สมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโปรตีนทางเลือกจากพืชที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (ดร.กานต์ธิดา วดีศิริศักดิ์)
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 ความสามารถในการย่อยและดูดซึมได้ของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโปรตีนทางเลือกจากพืชที ่มีศักยภาพทางการค้า (มะพร้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลืองผิวดำ) และแนวโน้มการก่อให้เกิดภูมิแพ้ (ดร.ธิดารัตน์ พันโท)
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ผลเชิงสุขภาพของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตโปรตีนทางเลือกจากพืชที ่มีศักยภาพทางการค้าต่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารจำลองของมนุษย์ (ดร.อรวรรณ ละอองคำ)
โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การเพิ่มมูลค่าผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตโยเกิร์ตโปรตีนทางเลือกจากพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและวัสดุดูดซับของเสียจากสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ (ดร.เนตรดาว มุสิกมาศ)
นำเสนอโดย ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย : ดร.ประมวล ทรายทอง สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร