มันสำปะหลังชนิดหวาน สายพันธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านแป้งมันสำปะหลัง มีความสนใจในการผลิตแป้งฟลาว คุณภาพสูงจากมันสำปะหลัง ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทดแทนแป้งสาลีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าปีละมากกว่าหมื่นล้านบาทโดย แป้งฟลาวจากมันสำปะหลังมีข้อได้เปรียบแป้งจากข้าวสาลี 2 ประการ ก็คือ (1) ปราศจากสารกลูเต็น (gluten) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มักจะเกิดการแพ้กับคนบางคนได้ และ(2) มีสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับแป้งจากข้าวสาลี ข้าวโพด และมันเทศ โดยสารชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เกิดขึ้นจากกรดอะมิโนแอสพาราจีนทอด หรืออบในอุณหภูมิสูง การปรับปรุงพันธุ์ และตัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวสดสูง ผลผลิตดี และมีไซยาไนด์ต่ำ จะเป็นอีกทางเลือก สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันลำปะหลัง สำหรับประเทศไทย มีการผลิตแป้งฟลาวจากมันสำปะหลังเพื่อการค้า แต่ยังใช้พันธ์ุมันสำปะหลังชนิดขม (bitter type) หรือพันธ์ุอุตสากรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งฟลาว ซิ่งยังมีปริมาณไซยาไนด์ในหัวสดสูง รสชาติและเนื้อสัมผัสอยู่ในขั้นต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอีก ดังนั้น นักวิจัยจึงได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง “พันธุ์เกษตรศาสตร์ 1, พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 เกษตรศาสตร์ 3 และเกษตรศาสตร์ 80-1″ซึ่งเป็นมันมันสำปะหลังชนิดหวาน (sweet type) หรือพันธุ์รับประทาน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งฟลาวมันสำปะหลังคุณภาพสูงโดย มีปริมาณสารไซยาไนด์และอะคริลาไมด์ต่ำ
ข้อมูลการใช้ประโยชน์/จุดเด่น
มันสำปะหลังชนิดหวานใช้ผลิตเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากส่วนของลำต้น ใบ และหัว ส่วนของต้นอ่อน ใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้สำหรับหัวมันสดนำมาแปรรูปเป็นอาหารคน และส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค ส่วนต้นแก่ใช้สำหรับปลูกเพื่อผลิต และขยายพันธ์ุต่อไป
ผลงานวิจัยโดย :
สกล ฉายศรี (นักวิจัย) สถานีวิจัยลพบุรี
คณะเกษตร มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ โทร.09-8368-2958 หรือ เพจ facebook มันสำปะหลังพันธุ์ทางเลือก
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
สกล ฉายศรี
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6