การส่งเสริมการแปรรูปและเตาอบไม้แบบต้นทุนต่ำสำหรับกลุ่มชุมชนและธุรกิจ SME

ไม้สักเป็นไม้มีค่าของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน หลังจากไม้สักในป่าธรรมชาติลดลง จึงมีการปลูกสร้างสวนสักขึ้น และมีการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกสวนสักมากขึ้น ปัจจุบันไม้สักที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มาจากสวนสักปลูกแทบทั้งสิ้น ในปัจจุบันในชุมชน ธุรกิจ SME เช่น ในจังหวัดแพร่ พะเยา น่าน จะมีการนำไม้สักแปรรูปไปใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์, ประตู, หน้าต่าง ฯลฯ โดยใช้เทคนิคในการแปรรูปที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งไม่ได้ผ่านการอบไม้ ทำให้ไม้เกิดการโก่ง บิด งอ แตก เป็นตำหนิ จึงทำให้ได้รับการเคลมจากลูกค้า หรือต้องขายในราคาถูก แต่ถ้าไม้ที่ผ่านการอบที่ถูกต้องก็จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยทั่วไปจากเตาอบไม้ระบบบอยเลอร์มีราคาแพงมากกว่า 1.5 ล้านบาท ทำให้ชุมชนผู้ประกอบการไม้ไม่สามารถดำเนินการได้

โดยการที่คณะผู้วิจัย ได้ดำเนินการทำเตาอบไม้แบบมีต้นทุนต่ำสำหรับกลุ่มชุมชนในปีงบประมาณ 2562 และได้รับผลสำเร็จอย่างดีโดยการ สร้างเตาอบไม้ต้นแบบ ระบบแลกเปลี่ยนความร้อนโดยตรง (Direct Heat Exchange) ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi – automation) ควบคุมความเร็วลมในห้องอบตามหลัก Air flow สามารถอบไม้ได้ครั้งละประมาณ 500 –700 ลูกบาศก์ฟุต อบไม้สักแปรรูปที่ความหนา 25 มิลลิเมตร ให้เหลือความชื้น 10 ± 2 % ใช้ระยะเวลา 9 วัน สาหรับเตาอบไม้แบบต้นทุนต่ำเป็นการใช้ระบบแลกเปลี่ยนความร้อนโดยตรง จะไม่มีการใช้ Boiler ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการใช้เตาอบ Boiler แล้วเตาอบไม้ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่าย ค่าก่อสร้าง ค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงดูแลรักษาน้อยกว่า ตลอดจนมีความปลอดภัยมากกว่า แต่อาจจะยังไม่ครอบคลุมสาหรับกลุ่มชุมชนอื่นที่ต้องการใช้เตาอบไม้ ควรทำการขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้เตาอบระบบนี้ยังสามารถที่จะอบไม้ได้ทุกชนิด แต่อาจมีการปรับบางอย่าง เช่น การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ในห้องอบ ฯลฯ ตามตารางอบไม้เพื่อให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ จนเป็นที่สำเร็จ จึงได้นำความรู้เทคโนโลยีดังกล่าวไปต่อยอดกับกลุ่มชุมชน, วิสาหกิจชุมชน หรือธุรกิจSME ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางรวมทั้งกระบวนการแปรรูปไม้ขนาดเล็กเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของไม้สักแปรรูป ตลอดจนเป็นการใช้ไม้อย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิด Zero-Waste

ผลงานวิจัยโดย :
รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ และทีมผู้วิจัย ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-1914-0575

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6