ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อการขนส่งเชิงพาณิชย์มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนเปลี่ยนรถใหม่ แต่สามารถนำรถเก่าที่มีอยู่มาแปลง
มาเป็นระบบไฟฟ้าซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ลดการปลดปล่อยมลพิษ จากปัญหามลภาวะทางอากาศ และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ที่ส่งต่อสภาพภูมิอากาศเศษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ IKEA และบริษัท M-World Logistic ในโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ ภายใต้ทุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยบริหารทุนด้านยานยนต์ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารถไฟฟ้าสำหรับธุรกิจขนส่งสินค้า (Logistics) ที่วิ่งได้ระยะไม่เกิน 180 กิโลเมตรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จุดเด่นของรถต้นแบบนี้คือ การออกแบบที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ทั้งในด้านน้ำหนักบรรทุก ความเร็ว อัตราเร่ง และระยะทางวิ่ง รวมถึงการติดตั้งแบตเตอรี่ใต้ท้องรถเพื่อเพิ่มความมั่นคง และมีการพัฒนาไปสู่แพลตฟอร์มแบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนได้เพื่อลดเวลาในการอัดประจุ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม Logistics ในอนาคต
คุณสมบัติของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง
- น้ำหนักบรรทุกรวมยานยนต์ 3,000 Kg
- ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ประมาณ 120 Km/h
- ระยะวิ่ง 180 Km ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง