การพัฒนาการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชัง

ปลาช่อนทะเล (Rachycentron canadum) เป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก (Briggs, 1960 cited after Liao et al., 2004; ไวยพจน์ และคณะ, 2550) จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญและกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เนื่องจากเป็นปลาที่ มีเนื้อขาว รสชาติดี ไม่มีกลิ่นคาว มีราคาค่อนข้างสูง ประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเล นอกจากนี้ สภาพภูมิประเทศชายฝั่งยังปลอดภัยจากคลื่นลมมรสุมเกือบตลอดทั้งปีทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (Liao et al., 2004; ไวยพจน์ และคณะ, 2550) ปัจจุบันมีการนำปลาช่อนทะเลมาบริโภค ทำให้ธุรกิจการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในประเทศไทยขยายเพิ่มมากขึ้น (พิชญา ชัยนาค และคณะ, 2560) ซึ่งเป็นความท้าทายของการศึกษาครั้งนี้ ในการนำปลาช่อนทะเลที่มีอยู่ในชุมชนมาดำเนินการเลี้ยงในกระชัง ภายใต้การให้อาหารสดเป็นชุดควบคุม และ อาหารเม็ดสำเร็จรูปผลิตโดยทีมจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 2 สูตร เปรียบเทียบกัน และมีการเก็บข้อมูลน้ำหนักปลา รวมถึงคุณภาพน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรค และ ข้อจำกัดในการเลี้ยงปลาช่อนทะเล ภายใต้โจทย์การวิจัยการพัฒนาการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชัง และมีแนวทางในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินการเลี้ยงและถ่ายทอดไปสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน รวมไปถึงเป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาวิจัยการเลี้ยงปลาช่อนทะเลต่อไป

โดยสถานีวิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน จังหวัดกระบี่ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังภายในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่ โดยชุมชนมีส่วนร่วมการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางน้ำบริเวณการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังภายในพื้นที่ โดยร่วมศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลาช่อนทะเลในกระชังภายในพื้นที่ชุมชนบ้าน เกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

สถานีวิจัยได้วางแผนการทดลอง CRD (Completely Randomized Design) แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุดการทดลอง (Treatments) ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ (Replicates) โดยในแต่ละซ้ำใส่ปลาช่อนทะเลจำนวน 30 ตัว ระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาช่อนทะเล อยู่ที่ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระดับไขมันที่เหมาะสมอยู่ ระหว่าง 5 – 15 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมกระชังสำหรับการเลี้ยงปลาช่อนทะเล
จัดเตรียมกระชังขนาดตาอวน 2.5 เซนติเมตร (กว้าง 2.5 เมตร x ยาว 3 เมตร x ลึก 2.5 เมตร )

ผลงานวิจัยโดย :
ปิยะวัฒน์  พรหมรักษา
สถานีวิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน จังหวัดกระบี่
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-0622-5399

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ปิยะวัฒน์  พรหมรักษา

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6