ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ
ปัญหาขยะจากชุมชนและสะสมในพื้นที่ภาคตะวันออก พื้นที่ฝังกลบไม่สามารถรองรับขยะที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาการสะสมขยะและส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยอาจารย์เมธี จันทโรปกรณ์ และคณะทีมผู้วิจัย ได้ดำเนินการผลิตนวัตกรรมการถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ” (Zero organic waste) เพื่อบูรณาการองค์ความรู้การจัดการขยะอินทรีย์ ให้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อเป็นต้นแบการจัดการขยะอินทรีย์
ประโยชน์ของถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ
ถังหมักขึ้นรูปจากพลาสติกชิ้นเดียวไม่มีรอยต่อ (อายุการใช้งาน10 ปี) สูง 120 ซม. ถังส่วนบนสำหรับรองรับขยะ สูง 90 ซม. และถังส่วนล่างรองรับน้ำหมักสูง 30 ซม. ถังแยกเป็น 2 ส่วน เพื่อความสะดวกในการขนส่ง และการใช้งาน ฝาทิ้งขยะด้านบนรองรับขยะอินทรีย์ได้อย่างต่อเนื่อง ขยะที่ผ่านการย่อยสลายแปรสภาพเป็นปุ๋ยจะอยู่ด้านล่างของถัง ซึ่งติดตั้งประตูไว้ด้านล่างของถังบนเพื่อนำปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักออกมาใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องตักออกจากฝาด้านบน และติดตั้งก๊อกไว้ที่ถังรองรับน้ำหมักด้านล่าง ภายในถังติดตั้งท่อให้อากาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.75 นิ้ว พร้อมติดตั้งฝาครอบรูปกรวยคว่ำจากก้นถังจนถึงที่ระยะ 38 และ 68 ซม. เพิ่มอัตราการย่อยสลายโดยไม่ต้องกลับกอง และเป็นช่องระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการย่อยสลาย
การย่อยสลายเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยแบคทีเรียกลุ่มที่ชอบอุณหภูมิสงู (Thermophilic bacteria) ปุ๋ยหมักนำไปใช้ได้ภายในระยะเวลา1-2 เดือน
ผลงานวิจัยโดย :
1 อาจารย์เมธี จันทโรปกรณ์
2. รศ. ดร. สุนทรี ขุนทอง
3. นางสาวพรพรรณ พรรณภัทราพงษ์
ภาควิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โทร. 08-5181-9166
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
อาจารย์เมธี จันทโรปกรณ์
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6