การปลูกกะหล่ำปลีอินทรีย์

การปลูกกะหล่ำปลีในพื้นที่รอบสถานีวิจัยเพชรบูรณ์มีการใช้สารเคมีเกินจำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมที่มีสารตกค้าง วิธีลดการใช้สารเคมีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เกษตรกรได้ทดลองใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema sp.) เชื้อราบิวเวอเรีย (Beouveria bassiana) และเชื้อราเมธาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช รวมถึงใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma harzianum) และแบคทีเรียบาซิลัส ชับทิลิส (Bacillus subtilis) ป้องกันโรคจากเชื้อรา โดยการฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าชีวภัณฑ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงและลดการระบาดของโรคได้ การปลูกกะหล่ำปลีอินทรีย์นี้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
นายวีระยุุทธ แสนยากุุล,นายเจรศัักดิ์ แซ่ลี, นายปรเมศ แสนยากุุล,นางสาววริยา ด่อนศรี,นายสันติพงษ์ วงมีแก้ว, รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย
สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์