KURDI ร่วมงานแถลงข่าวเปิด “โครงการ ShrimpGuard”
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ร่วมงานแถลงข่าวเปิด “โครงการ ShrimpGuard : การพัฒนาสูตรผสมของฟาจและสารเสริมชีวนะเพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่ดื้อต่อยา ปฏิชีวนะในกุ้งเลี้ยง” โครงการร่วมวิจัย ไบโอเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้รับทุนจาก International Development Research Centre (IDRC) Canada มูลค่ากว่า 41 ล้านบาท วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ณ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างเพื่อต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัยด้าน เทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการในลำดับต่อไป โดยเชิญท่าน ปอว. เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีและเชิญแขกผู้มี เกียรติจาก สถานทูตแคนาดา สถานทูตอังกฤษ หน่วยงานภาครัฐ ภาคแอกชนหน่วยงานให้ทุนวิจัยในประเทศและสื่อมวลชน
อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารและสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิต และส่งออกกุ้งทะเลรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ตามด้วยสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้โรคระบาดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียในระหว่างการเพาะเลี้ยงมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอัตรารอดของกุ้ง และนำไปสู่ความเสียหาย ทางเศรษฐกิจโดยกว้าง ปัจจุบันโรค Vibriosis ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. จัดเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของการตาย ของกุ้งทั้งในฟาร์มเลี้ยงและโรงเพาะฟัก เกษตรกรจึงมีการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมี เพื่อควบคุมปริมาณของเชื้อ และ ป้องกันการเกิดโรค Vibriosis การใช้ยาที่เกินขนาดและไม่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา การแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาและยีนดื้อยาในสภาพแวดล้อม และการตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อกุ้ง ดังนั้นการพัฒนาแนว ทางเลือก เพื่อลดปัญหาดังกล่าวในการเพาะเลี้ยงกุ้งจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารชีวภาพ ShrimpGuard ซึ่งเป็นแบคทีริโอฟาจที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแบคทีเรีย ก่อโรคในกุ้งได้อย่างจำเพาะเจาะจง ไม่ส่งผลกระทบต่อแบคทีเรียตัวดีที่อยู่ในระบบการเลี้ยงกุ้งและในลำไส้กุ้ง ShrimpGuard จะถูกพัฒนาให้ใช้ได้ทั้งในน้ำเลี้ยงกุ้งและใช้ในสูตรอาหารกุ้ง โดยจะใช้เทคโนโลยีทางด้าน nanotechnology เข้ามาช่วยเพิ่ม ความคงตัวของ ShrimpGuard สำหรับการพัฒนาสูตรอาหารกุ้งจะพัฒนา ShrimpGuard ร่วมไปกับการพัฒนาสารชีวภาพ ส่วนประกอบอื่นอีก 3 ชนิดที่มีรายงานการวิจัยว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งในการต้านการ ก่อโรคของเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย สูตรอาหารดังกล่าวจะนำไปใช้ระหว่างการเลี้ยงลูกกุ้งเพื่อป้องกันและควบคุมเชื้อแบคทีเรีย ร้ายแรงที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยง ShrimpGuard จะเป็นสารชีวภาพที่นำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคใน ระหว่างการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งจะเป็นการช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่เป็นต้นเหตุของการเกิดเชื้อดื้อยาในการเลี้ยงกุ้ง
ในโครงการวิจัยนี้จะได้พัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียดื้อยาระหว่างกระบวนการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลใน ระดับโรงเพาะฟักจนถึงบ่อเลี้ยง เพื่อพัฒนา ShrimpGuard Platform เพิ่มเติมในการลดปัญหาการใช้ยาปฎิชีวนะและเชื้อดื้อยา อย่างครบวงจรต่อไป ในส่วนของการพัฒนา ShrimpGuard มีนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (นำทีมโดย ดร. กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นำทีมโดย ดร. ณัฎฐิกา แสงกฤช) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นำทีมวิจัยโดย รศ.ดร. กิติญา วงษ์คำจันทร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (นำทีมวิจัย โดย ผศ. ศิริวรรณ คิดประเสริฐ) และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รศ.ดร. กันต์ ศรีจันท์ ทองศิริ) เป็นผู้ร่วมโครงการหลัก
วัตถุประสงค์หลักอีกข้อหนึ่งของโครงการวิจัยนี้คือ การสร้างเครือข่ายการสนับสนุนแนวทางการใช้สารชีวภาพทดแทน การใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลร่วมกับกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (ASEAN network for AMR in Aquaculture) โดยโครงการวิจัยนี้จะพัฒนาเครือข่าย การทำงานร่วมกับศูนย์เครือข่ายสุขภาพสัตว์น้ำแห่งอาเซียน (ASEAN Network on Aquatic Animal Health Centres , ANAAHC) ที่มีประเทศไทย โดยกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมงเป็นผู้นำศูนย์เครือข่ายนี้ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือ จากทีมวิจัยของกรมประมง นำโดย ดร. พุทธรัตน์ เบ้าประเสริฐกุล ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ในการจัด ประชุมร่วมกับ ANAAHC เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางในการทำงานของประเทศสมาชิกจำนวน ๑๐ ประเทศในมาตรการด้านการ ป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาในกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของแต่ละประเทศ ความเป็นไปได้ในการพัฒนาแนวทางการทำงาน ร่วมกัน ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา ShrimpGuard ของทีมวิจัยไทย นอกจากนั้นผลสำเร็จจาก โครงการวิจัยนี้จะถูกนำเสนอผ่านความร่วมมือกับภาครัฐ เช่น กรมประมง และภาคเอกชน เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลแก่เกษตรกรใน ประเทศ โดยเน้นไปที่การใช้เป็นแนวทางที่สามารถทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและ การสร้างกระบวนการเพาะเลี้ยงที่ยั่งยืนและปลอดภัยในระยะยาว
โครงการวิจัยนี้มีคณะที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในสัตว์ น้ำจากและองค์กรทั้งในระดับนานาชาติประกอบด้วย ได้แก่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO Fisheries and Aquaculture Division) (Dr. Melba G. Bondad Reantaso) องค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Network of Aquaculture Center in Asia-Pacific, NACA) (Prof. Huang Jie) และ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Fisheries Development Center, SEAFDEC) (Dr. Suttinee Limthammahisorn)