การเลี้ยงปลิงทะเล

ปลิงทะเล (sea cucumber) เป็นสัตว์น้ำเค็ม ชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ เป็นที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะชาวจีน โดยการเดินเรือและการจับ ปลิงทะเลในเอเชียเริ่มมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ศตวรรษที่สิบหก พบว่ามีการประมง และการซื้อขายเชิงพาณิชย์ของปลิงทะเลในแถบเอเชียมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะ บริเวณเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน และไต้หวัน และพบว่าการประมงในเอเชียบริเวณ เขตร้อนและใกล้เขตร้อนมีปลิงทะเลที่สำคัญทางการค้ามากมายหลายชนิด ซึ่งอยู่ในวงศ์ (family) Holothuriidae และวงศ์ Stichopodidae ได้แก่ Holothuria, Actinopyga, Bohadschia และ Stichopus ขณะที่การประมงในเขตอบอุ่นของเอเชียจะมีเพียงชนิดเดียวที่เด่น ได้แก่ Apostichopus japonicas ซึ่งประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตปลิงทะเลวงศ์ Holothuroidea ในระดับต้น ๆ ของโลกจากการจับจากธรรมชาติ สำหรับประเทศจีนมีผลผลิตของปลิงทะเลที่ได้จากการเพาะเลี้ยงซึ่งมีผลผลิต 10,000 ตัน ของน้ำหนักแห้งในทุก ๆ ปี และพบว่าปลิงทะเลชนิด Holothuria scabra และ Holothuria atra เป็นปลิงทะเลที่มีมูลค่าสูงและพบได้ตามชายฝั่งของประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจุบันปลิงทะเล H. scabra ในธรรมชาติมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งตกอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการเพาะขยายพันธุ์และการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ H. scabra หรือปลิงทะเลขาว จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างเร่งด่วนเพื่อนำปลิงทะเล ชนิดนี้กลับคืนสู่ทะเลไทย ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจได้

การเลือกสถานที่สาหรับการเลี้ยงปลิงทะเลขาว
เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สาคัญในการเลี้ยงปลิงทะเลขาว มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
1.เป็นแหล่งที่มีพันธุ์ปลิงทะเลขาวตามธรรมชาติ
2.เป็นแหล่งน้าเค็มที่สะอาดที่มีการไหลเวียนของแหล่งน้า
3.เป็นแหล่งที่มีกระแสน้าและคลื่นลมไม่แรงมากนัก
4.แหล่งเลี้ยงควรอยู่ชายฝั่ง ระดับความลึกประมาณ 4 เมตร รูปแบบการเลี้ยงปลิงทะเลขาว การเลี้ยงปลิงทะเลขาวในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในรูปแบบการกั้นพื้นที่เลี้ยงในธรรมชาติเท่านั้น โดยใช้ลูกพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ

การเลี้ยงปลิงทะเลขาวแบบกั้นคอก
การเลี้ยงปลิงทะเลขาวของกลุ่มเลี้ยงปลิงทะเลชุมชนบ้านเกาะปู ใช้รูปแบบการกั้นคอก สี่เหลี่ยมขนาด (80 X20)เมตร แล้วแบ่งออกเป็น 4 คอกเท่าๆกันลงในทะเลที่มีองค์ประกอบดังนี้ หญ้าทะเล ดินเลน น้าไหลผ่านตลอดเวลา และระดับน้าลงต่าสุด ไม่เกิน 30 เซนติเมตร จากหน้าดินที่มีระยะห่างจากชายฝั่ง 30-50 เมตร และไม่ขวางทางเรือวิ่งผ่าน

คลิป การเลี้ยงปลิงทะเลอย่างยั่งยืน

ผลงานวิจัยโดย :

ปิยะวัฒน์ พรหมรักษา
สถานีวิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน จังหวัดกระบี่
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โทร. 08-0622-5399

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ปิยะวัฒน์ พรหมรักษา

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6