น้อยหน่าลูกผสม 3 สายพันธุ์ (เพชรปากช่อง/ปาช่อง 46/ ฝ้ายเขียวเกษตร 2)

(A) เพชรปากช่อง (B) ปากช่อง 46 (C) ฝ้ายเขียวเกษตร 2

น้อยหน่าลูกผสมทั้ง 3 พันธุ์ เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์โดยเป็นลูกผสมระหว่างน้อยหน่า (Annona squamosa Linn.) กับเซอริโมย่า (Annona cherimola Mill)

  1. พันธุ์เพชรปากช่อง เกิดจากลูกผสมของเซอริโมย่ากับน้อยหน่าหนังครั่งเป็นสายพันธุ์แม่ผสมกับน้อยหน่าหนังเขียว มีลักษณะเด่นคือ ผลใหญ่รูปหัวใจขนาดปานกลางเฉลี่ย 436.8 กรัม/ผล เนื้อเยอะ เมล็ดน้อย ผิวเรียบ ร่องตาตี้น เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง เปลือกบางลอกเปลือกได้ รสชาติหวานหอม
  2. พันธุ์ปากช่อง 46 เกิดจากลูกผสมของเชอริโมย่ากับน้อยหน่าหนังครั่งเป็นสายพันธุ์แม่ ผสมกับน้อยหน่าหนังเขียวเป็นพันธุ์พ่อ มีลักษณะเด่นคือ ผลรูปหัวใจปลายค่อนข้างแหลมขนาดปานกลางเฉลี่ย 260 กรัม/ผล ผิวผลมีร่องตาตี้น รสหวามอมเปรี้ยวเล็กน้อย และมีลักษณะเด่นคือเนื้อร่วนไม่ติดกัน
  3. พันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เกิดจากลูกผสมระหว่าง (เพชรปากช่อง x ฝ้ายเขียวเกษตร 1 มีลักษณะเด่นคือ ติดผลง่ายและดก ผลขนาดปานกลาง (ตลาดต้องการ) สุกช้าเปลือกหนาติดกันเป็นแผ่นไม่แยกตาทำให้ผลสุกไม่เละง่าย อายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน ผลรูปทรงกลมกึ่งไข่กลับ ไหล่ผลเว้า ปลายผลกลม ผลสมมาตร เนื้อร่วน การแยกของเนื้อผลย่อยแยกออกจากกันได้ง่าย กลิ่นหอม รสชาติหวาน แกนผลรูปลูกศรสามเหลี่ยมสีขาว เป็นพันธุ์เบาเริ่มติดผลได้ตั้งแต่อายุ 1-2 ปี

 

 

พืชพันธุ์ใหม่เป็นนวัตกรรม ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์พืช ให้ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นดีกว่าพันธุ์เดิม เช่น ขนาด น้ำหนักผล และปริมาณเนื้อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์เดิมที่มีลักษณะด้อยกว่า ทำให้เกษตรกรสามารถได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่มากกว่าเดิม และราคาผลผลิตสูงกว่าเดิม (ทำน้อยได้มาก) อีกทั้งเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าการส่งออกได้จำนวนมาก ช่วยให้ผู้ผลิตมีอาชีพสร้างรายได้จากการขายผลผลิต และกึ่งพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกรดพรีเมี่ยมได้ไม่ยาก พืชพันธุ์ใหม่ที่ผ่านขั้นตอนการปรั่บปรุงพันธุ์นี้ยังส่งผลถึงความยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากสามารถผลิตได้ง่าย และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
นายเรืองศักดิ์ กมขุนทด, รศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ, รศ.กวิศร์ วานิชกุล
สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 08-1470-2382 E-mail: ijsrsk@ku.ac.th