เครื่องสูบลมพลังงานแสงอาทิตย์

SOLAR POWER พลังงานคาร์บอนต่ำ

  • เครื่องสูบลมจักรยานพลังงานแสงอาทิตย์ ให้บริการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยการใช้แผงโซล่าเซลล์-เก็บพลังงานโดยแบตเตอรี่ และต่อเข้ากับปั๊มลมมีเกจแสดงแรงดันลมชัดเจน เติมลมล้อจักรยาน/มอเตอร์ไซค์/ล้อรถยนตร์ ฟรี!
  • ใช้งานสะดวกสามารถใช้สายจุ๊บต่อเข้ากับล้อจักรยานเพื่อเติมลมโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
  • เริ่มผลิตรุ่นแรกในปี 2560 สอดรับกับนโยบายการส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยปรับขนาดของแผงโซลาเซลล์และแบตเตอรีให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพิ่มล้อเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
  • ปัจจุบันรุ่นที่ 2 ปรับปรุงโดยการ “วน” ใช้ของเหลือทิ้ง (ครุภัณฑ์เก่า) มาเป็นองค์ประกอบของเครื่องและอยู่ระหว่างการจดอนุสิทธิบัตร 
  • การใช้งานตั้งแต่ 2560-2565 จากการเก็บข้อมูลจากเครื่องใช้งานมากกว่า 21,000 คน-ครั้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • การใช้เครื่องสูบลมพลังงานแสงอาทิตย์สนับสนุนการเดินทางแบบ low-carbon ด้วยจักรยานภายใน KU และพื้นที่ใกล้เคียงจากการเก็บข้อมูลเครื่องสูบลมพลังงานแสงอาทิตย์สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) จากการขี่จักรยานไปแล้วมากกว่า 20 ตัน C02 เทียบเท่า (เก็บสถิติการปั่นจักรยานภายในพื้นที่ศึกษา 25 กิโลเมตร ต่อการเติมลม 1 ครั้ง เทียบกับการใช้จักรยานยนตร์ปล่อย CO2 36 กรัม/กิโลเมตร)
  • การทำงานที่ใช้พลังแสงอาทิตย์ลดการใช้ไฟฟ้าในการสูบลม ลด GHGs กว่า 0.49 kgCO2 eq/หน่วยไฟฟ้า

ด้านสังคม

  • เครื่องสูบลมพลังงานแสงอาทิตย์ใช้งานง่าย สามารถสมสมพลังงานอาทิตย์และใช้ได้ตลอด 24 ชม. มีความปลอดภัยจากไฟดูดเมื่อใช้งานระหว่างฝนตก

ด้านเศรษฐกิจ

  • ต้นทุนการผลิตแบบรวมแบตเตอรี่ แผงโซล่าเซลล์ และโครงสร้าง 15,000 บาท
    หลังจากการ วน ใช้ของเสียเหลือใช้เพื่อปรับเป็นโครงสร้าง ต้นทุนเหลือ 5,000 บาท
    ค่าบำรุงรักษารายปี (เปลี่ยนหัวจุ๊บสูบลมยาง) < 500 บาท, งบประมาณเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 3 ปี < 2,000 บาท

 

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
นายปรัชญา จันทรศักดิ์1, น.ส.สุภาพร แสนแอ1, ผศ.ดร.มณฑล ฐานุตตมวงศ์2, รศ.ดร.จีมา ศรลัมพ์1,
1ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
2วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
E-mail: monthon.t@ku.ac.th