สุรากลั่น มันสำปะหลังหวาน
สุราพื้นบ้าน สุรากลั่นที่มีดีกรีแรง เป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดได้ว่าเป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาไทย แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ทำให้การผลิตสุราพื้นบ้านเหล่านี้ไม่เป็นที่เปิดเผยและแพร่หลาย (สุพัฒน์ และกำพล, 2545) จากกระแสในการบริโภคไวน์องุ่นราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กอปรกับผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ ทำให้เกิดกระแสการผลิตสุราแช่จากผลไม้ (ไวน์ผลไม้) (สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน, 2546) ทีมวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังสายพันธุ์เกษตรศาสตร์ ได้พัฒนาสายพันธุ์ชนิดหวานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็น สุรากลั่น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรเพื่อพัฒนาสุราพื้นบ้านของไทย (soft power)
ซึ่งมันสำปะหลังสายพันธุ์เกษตรศาสตร์ชนิดหวาน เป็นวัตถุดิบประเภทแป้ง และเซลลูโลส ที่มีลักษณะเฉพาะจะต้องผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยีสต์ เพื่อให้ผลิตแอลกอฮอล์ แล้วกลั่นเป็นเหล้า หลังจากนั้นนำเหล้าที่กลั่นได้ไปผสมกับน้ำมันหอมระเหย หรือสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม โดยการหมักมันสำปะหลัง และพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน จากนั้นทำการกลั่นเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ลักษณะใส ปิดท้ายด้วยการหล่อเย็นและบรรจุขวดจนกลายเป็น Gin ที่มีเอกลักษณ์และกลิ่นหอมเฉพาะตัว ที่มีรสชาติ ความหอม มีเอกลักษณ์ ไม่แพ้สุรากลั่นจากวัตถุดิบอื่นๆ
ผลงานวิจัยโดย :
1. ดร. กิ่งกานท์ พานิชนอก
สถานีวิจัยเขาหินซ้อน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. นาย สุเมศ ทับเงิน
สถานีวิจัยเขาหินซ้อน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์📞 สอบถามข้อมูลได้ที่
สถานีวิจัยลพบุรี โทร. 08-9948-9892
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ดร. กิ่งกานท์ พานิชนอก
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6