ไมโครแคปซูลของสารสกัด กลุ่มแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอรี่

ประสิทธิภาพการป้องกันสารอนุมูลอิสระระหว่าง CoQ10 และ สารสกัดจากข้าวไรซ์เบอรี่ (สารแอนโทไซยานิน) จะเห็นได้ว่าสารแอนโทไซยานินมีค่า ORAC สูงกว่า CoQ10 ประมาณ 3 เท่า เกษตรกรในกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในจังหวัดสกลนครเจอปัญหาเรื่องสถานการณ์ราคาข้าวไรซ์เบอรี่ตกต่ำ และ การไม่รับซื้อข้าวไรซ์เบอรี่หลังเก็บเกี่ยว เนื่องจากข้าวไรซ์เบอรี่เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ แม้จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแต่รสชาติ รสสัมผัสยังไม่ถูกใจแก่ผู้บริโภคโดยรวม ตลาดอจึงยู่ในเฉพาะกลุ่ม ด้านศักยภาพทางการตลาดของสารจำพวกต้านอนุมูลอิสระที่ในโครงการนี้จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางที่มีอัตราการเติบโตสูง ทำให้โอกาสในการเข้าสู่ตลาดมีความเป็นไปได้และโอกาสที่สูง การใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าราคาของข้าว และ ความจำเป็นในการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้แก่เกษตรกรไทย

ไมโครแคปซูลของสารสกัดกลุ่มแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอรีเพื่อพัฒนาเป็นสารสำคัญในเครื่องสำอางที่เน้นคุณสมบัติในการลดริ้วรอบและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เกิดการต่อยอดเชิงธุรกิจ โดยได้รับสนับสนุนจากบริษัท บารามี แลบบอราทอรีส์ จำกัด และบริษัท อิมเพรส-ไรซ์ จำกัด ในช่วงปี 2561 – 2564 ซึ่งมีการนำไปผลิตเป็นไวท์เทนนิ่ง คอมเพล็กซ์ ไรซ์เบอรี่ โซฟ (เลขจดแจ้ง 10-1-6100021168) และ ไวท์เทนนิ่ง ไรซ์เบอรี่ เซรั่ม (เลขจดแจ้ง 10-1-6100042003)  และในปี 2566 นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ ได้นำมาพัฒนาต่อเนื่อง และได้รับทุนสนับสนุนในการทำโครงงานวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในการสำเร็จการศึกษาจากมูลนิธิทาคาฮาชิ ประเทศไทย ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบออกมาเป็น เซรัม โทนเนอร์ ไมเซลลาร์คลีนซิง เจลล้างหน้า และโลชันบำรุงผิว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ดร.ณภสินธุ์ พัฒนากุล  นางสาวสุภาพร ญานวิพัฒน์  นางสาวปภาวี ฉายาเวทย์  และนางสาวสุดารัตน์ บุญหล้า
คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดสกลนคร
โทร.08-5192-6635

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ดร.ณภสินธุ์ พัฒนากุล

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6