การเลี้ยงไหมอีรี่ตามมาตรฐาน KU Standard และการสร้างรายได้จากการเลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน

การถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่ (GAP) เพื่อให้ได้มาตรฐานสินค้าเกษตร KU Standard ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่สามารถผลิตดักแด้และรังไหมที่มีคุณภาพสามารถยกระดับคุณภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน จัดจำหน่ายเพื่อเพิ่ม รายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้รวมกลุ่มกันผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์อันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และนอกจากนี้ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องปั่นเส้นด้ายไหมอีรี่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานดีกว่าเครื่องปั่นเส้นด้ายด้วยเท้าเหยียบ เส้นใยจากไหมอีรึ

  • มีคุณสมบัตินุ่ม ระบายอากาศได้ดี
  • ดูแลรักษาง่าย เหมาะสมในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ผ้าพันคอ ชุดชั้นในสตรี กระเป๋า หรือของตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ในครัวเรือน เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ

  • ดักแด้ และรังไหม –> ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหาร
  • ด้านสิ่งทอ –> ผลิตภัณฑ์ถักทอโดยช่างในพื้นถิ่น เช่น ผ้าพันคอ ชุดสตรี กระเป๋า ฯลฯ
  • ด้านอาหาร –> หนอน ดักแก้ ทำผลิตภัณฑ์โปรตีนเสริมจากดักแด้ไหมอีรี (โปรตีนไฮโดรไลเสท) ได้แก่ รถด่วนไหมอีรี แคบหนอน น้ำพริกข่า โดนัทบราวนี่ และบราวนี่กรอบ

เครื่องปั่นเส้นด้ายไหมอีรีด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

  • ใช้ทดแทนเครื่องปั่นเส้นด้ายไหมรีด้วยเท้าเหยียบซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของช่างฝีมือ
  • สะดวกรวดเร็ว เพิ่มโอกาสแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านการใช้เท้าเหยียบ
  • เพิ่มปริมาณการผลิตเส้นด้ายไหมอีรี นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ. ดร.รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์ และคณะ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ภาควิชากีฏวิทยา
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 096-2954-255 E-mail: KUsmartsilk001@gmail.com

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th