การพัฒนาของเหลือจากการผลิตปลาดุกอบกรอบเพื่อเพิ่มมูลค่าและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำจากก้างปลาและหัวปลาดุก
เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการส่งกลิ่นเหม็นและมลพิษทางน้ำในชุมชนลำไทร ที่เกิดจากของเหลือทิ้งจากการแปรรูปปลาดุก เป็นการศึกษาวิธีการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกสัตว์และการนำไปใช้ในพอลิแลกติกคอมโพสิต โดยการนำกระดูกปลาที่เหลือจากการแปรรูปในวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ซึ่งมีแคลเซียม ไฮโดรเจนฟอสเฟต เป็นองค์ประกอบ พบว่าไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ได้ มีความบริสุทธิ์สามารถนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของยาสีฟันเพื่อลดการเสียวฟัน สามารถสร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กลับเข้ามายังชุมชม นอกจากนั้นยังนำเอากระดูกปลาที่ผ่านการต้ม อบแห้งและ บดผง นำมาพัฒนาเป็นวัสดุคอมพอสิตกับพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Bio-Compostable Composites From Biomasses and Bioplastics) โดยเม็ดพลาสติกชีวภาพจากกระดูกก้างปลา สามารถนำไปชึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆได้ และยังนำมาพัฒนาเป็นพลาสติกชีวภาพคลุมดินป้องกันวัชพืช สามารถย่อยสลาย กลับเป็นสารบำรุงดินได้ต่อไป นอกจากนี้ยังใช้งานสารประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ได้มาทำเป็นวัสดุปลูกเพิ่มธาตุอาหารหลัก และรอง อีกด้วย
การนำไปใช้ประโยชน์
- แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นและลดมลพิษทางน้ำในชุมชนลำไทร ที่เกิดจากของเหลือทิ้งจากการแปรรูปปลาดุกของวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลาสติก
- พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน
1. เม็ดคอมพอสิต จากกระดูกป่น/PLA สำหรับขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ
2. ฟิลม์ชีวภาพสำหรับคลุมดิน ย่อยสลายได้
3. วัสดุปรับปรุงดินเพิ่มแคลเซียมจากกระดูกก้างปลา
4. ยาสีฟัน Biocalcium เพื่อช่วยลดอาการเสียวฟัน
