การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้าง และโครงสร้างทนไฟ
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากไม้ในรูปแบบของวัสดุก่อสร้าง และโครงสร้าง โดยจะเป็นการใช้ไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งมีราคาแพงและหาได้ยากต้องนำเข้าจากต่างประเทศโดยในปี 2557 ถึงเดือนพฤศจิกายนประเทศไทยนำไม้เข้าจากต่างประเทศถึง 3,563,622 ลบ.ม. เป็นจำนวนเงิน 9,747,624,465 บาท
สำหรับไม้ที่ใช้ในประเทศ คือ ไม้ยางพาราซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมไม้แปรรูป, เฟอร์นิเจอร์, ทำแผ่นไม้ประกอบ ฯลฯ ซึ่งไม้ยางพาราถือว่าเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในแต่ละปีจะมีการโค่นต้นยางพาราปีละ 25,000 ไร่ แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เพียง 30-35% ส่วนที่เหลือจะถูกเผาทิ้ง และ ไม้ที่นำมาใช้ประโยชน์ในแต่ละขั้นตอนก็มีการสูญเสียอย่างมากมาย เช่นในการเลื่อยไม้ยางพาราจะมีการสูญเสียถึง 50-55% ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้คณะผู้วิจัยมีความคิดว่าหากเราสามารถเพิ่มมูลค่าไม้ยางพาราจากโรงงานอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ประกอบกับประเทศไทยมีการเจริญเติบโตในด้านก่อสร้างสูงขึ้นทุกปีโดยเฉพาะการใช้วัสดุเพื่อการก่อสร้าง และโครงสร้างของอาคารสูงในปัจจุบัน เช่น ประตู จะเน้นถึงการทนไฟเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากไฟไหม้ในอาคาร ดังนั้นทำให้คณะผู้วิจัยมีความคิดในการนำไม้ยางพาราในประเทศไทยรวมถึงเศษไม้ที่เหลือในขบวนการผลิตมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้าง และโครงสร้างทนไฟ
โดยจากการทดลองที่ได้นำไม้ยางพารามาผ่านกระบวนการอัดน้ำยาด้วยสารประกอบโบรอน และนำมาประกอบในรูปแบบของ CROSS LAMINATE ซึ่งผลการทดลองสามารถที่จะผ่านการทดสอบการทนไฟได้ และนอกจากนี้ไม้ดังกล่าวสามารถที่จะป้องกันปลวกและแมลงได้อีกด้วย ทำให้การใช้งานของไม้มีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ไม้อย่างคุ้มค่า และยังเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ตรงกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ว่า KU. รักษ์โลก
1.ไม้ยางพาราที่เป็นวัสดุก่อสร้าง/โครงสร้างทนไฟ ———->
2. การทดสอบการติดไฟ 3. หลังการทดสอบการติดไฟ จะไม่มีการลามไฟเกิดขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
รศ. ทรงกลด จารุสมบัติ
ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-1914-0575
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ. ทรงกลด จารุสมบัติ
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6