สวพ.มก. ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย
เอกสารการอบรม วันที่ 11 กันยายน 2566
- การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากงานวิจัย
- การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย (R&D Impact Evaluation)
- กรอบแนวคิดการประเมิน ทฤษฎี/เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ สำหรับการประเมินผลกระทบของงานวิจัยและพัฒนา
- Template Impact pathway
- Template ตาราง CBA
- Link อบรมการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย (ภาคบรรยาย)
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย
วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 08.30-16.30 น.
การวิจัยเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานทางวิชาการสำหรับการพัฒนางานวิจัยในระดับที่สูงขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาใช้ประโยชน์ เกิดผลกระทบในด้านต่างๆต่อผู้ใช้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพที่สามารถนำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ได้นั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการงานวิจัยที่ดีทั้งด้านการบริหารทุนวิจัยและการประเมินผลงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานวิจัย โดยการประเมินจะเป็นกลไกในการสะท้อนถึงความคุ้มค่า ความสำเร็จที่เกิดจากการลงทุนวิจัยให้กับหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและหน่วยงานปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งบุคลากรที่ทำการวิจัย
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัยที่มีความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผลประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและ ปฏิบัติควรให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยดังกล่าวยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก อีกทั้งศาสตร์และการใช้เครื่องมือยังอยู่ในขอบเขตจำกัดและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการวิจัยยังขาดความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิจัยและการบริหารงานวิจัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ฝ่ายบริหารงานวิจัยและประเมินผล กำหนดจัดให้มีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย ในวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 08.30-16.30 น. ขึ้นโดยมุ่งหวังในการสนับสนุนกระบวนการทางวิชาการและเสริมสร้าง องค์ความรู้ด้านการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาคเช้า : บรรยายให้ความรู้แก่ผู้สนใจ การอบรมแบบ Hybrid
– Onsite ณ ห้อง 408 ชั้น 4
– Online ใช้ระบบออนไลน์ด้วย Zoom
ภาคบ่าย (workshop) : ห้อง 511 ชั้น 5 (onsite)
(เฉพาะผู้ที่สมัครขอรับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ ที่ผ่านการพิจารณารอบแรก (เท่านั้น) ซึ่งจะต้องเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในภาคเช้าด้วย และขอให้นำโน๊ตบุ๊คของตนเอง**หมดเขตรับสมัคร ภายในวันที่ 5 กันยายน 2566 (เวลา 16.30 น.)**มาด้วย เพื่อใช้ฝึกปฏิบัติการในภาคบ่าย)
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรมและการสมัคร
- เป็นอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ขึ้นทะเบียนนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการวิจัย
- สมัครเข้าอบรม (Google Form) ได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ www.rdi.ku.ac.th ภาคเช้า (บรรยายให้ความรู้) ภาคบ่าย ฝึกปฏิบัติ (Onsite) เฉพาะผู้ที่สมัครขอรับรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบที่ผ่านการพิจารณารอบแรก
- ผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากยืนยันเข้าอบรมแล้วไม่เข้าอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะขอเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากส่วนงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรม
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ตามลิงค์ที่ปรากฏด้านล่าง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2566
(ฝ่ายบริหารงานวิจัยและประเมินผล สวพ.มก.)
โทรศัพท์ 02-579-5547 สายใน 611457, 611796, 611943
E-mail: rdirdk@ku.ac.th