กระเป๋ารักษ์โลกจาก “ถุงน้ำยาล้างไต”

“ถุงน้ำยาล้างไต” ถูกทิ้งเป็นขยะมากถึงราว 1 ล้านใบต่อเดือนยากต่อการย่อยสลายเพราะทำจากพลาสติกคุณภาพสูง สะอาด หนานุ่มมีความแข็งแรงเทียบเท่าหนังวัว จึงเกิดแนวคิดที่จะนำมาอัพไซเคิลเป็น “กระเป๋า” ภายใต้ชื่อแบรนด์ ‘Scarp Shop’

การคัดเลือกถุงที่จะมาใช้เจาะจงเป็น “ถุงบน” ซึ่งเป็นถุงสำหรับให้สารอาหารแก่ผู้ป่วย และมาจากผู้ป่วยที่ไม่มีโรคติดต่อเท่านั้น นอกจากนั้น ก่อนจะนำมาเข้ากระบวนการต่างๆ ต้องผ่านการล้าง ฆ่าเชื้อ เพื่อความมั่นใจด้านความสะอาดปลอดภัย

การผลิต

ถุงน้ำยาล้างไต ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 20×25 ซม. ต้องมีการปรับ
ขนาดวัสดุด้าน “ความหนา” และ “กว้างยาว” ให้เพียงพอในการตัดเย็บซึ่งเทคนิคเพิ่มความหนา คือ นำถุงมาซ้อนๆ กัน แล้วเชื่อมให้ติดกันด้วย “ความร้อน”

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ช่วยลดขยะจากถุงน้ำยาล้างไต
  • เพิ่มรายได้ให้กับผู้ป่วย
  • ขยายการจ้างงานสู่ชุมชน
  • ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

ช่องทางการจำหน่าย

  • ร้าน ‘SCRAP SHOP’ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • หอศิลป์กรุงเทพฯ และร้าน TCDC ในห้างดิเอ็มโพเรียม

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต และคณะ
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-942-8960 ต่อ 305 E-mail: singhman@ku.th

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th