ชุดล้อเลื่อนสำหรับสุนัขพิการหรือเป็นอัมพาตที่ขาหลัง

ปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทยนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น จากสถิติกรมปศุสัตว์ที่ทำการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่า มีจำนวน สุนัขเร่ร่อนจรจัดทั้งประเทศมากกว่า 700,000 ตัว เป็นเพศผู้ 370,000 ตัว เพศเมีย 340,000 ตัว เฉพาะในกรุงเทพสำรวจพบสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานครมีมากกว่า 100,000 ตัว ขณะที่สุนัขเลี้ยงมีเจ้าของมีราว 600,000 ตัว มีสุนัขที่ กทม. ฝังไมโครชิพเพื่อเก็บประวัติไม่ถึง 70,000 ตัวเท่านั้น สุนัขจรจัดส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหมัน ทั้งนี้ สัดส่วนลูกสุนัขเกิดใหม่ปัจจุบันพบว่า สุนัขเพศเมีย 1 ตัว สามารถออกลูกได้มากกว่า 10 ตัวต่อปี นั่นหมายความว่า แนวโน้มจำนวนสุนัขจรจัดในไทยมีมากกว่า 3,400,000 ตัว ในรอบปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รับร้องเรียนกรณีสุนัขสร้างความเดือดร้อนรำคาญถึงเดือนละ 300-400 เรื่อง สามารถทำหมันสุนัขได้เพียง 20,000 ตัวเท่านั้น หากตรวจสอบแล้วเป็นสุนัขจรจัด เจ้าหน้าที่จะจับไปบำบัดที่ ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดประเวศ เพื่อคัดกรองโรค ฉีดวัคซีน และทำหมัน ซึ่งปัจจุบันมีสุนัขถูกกักกันอยู่ที่ศูนย์ควบคุมสุนัข เขตประเวศ มีประมาณ 800 ตัว จากนั้นจะขนย้ายไปไว้ที่ ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดของกรุงเทพมหานครที่ จ.อุทัยธานี ที่มีสุนัขกักกันอยู่ประมาณ 5,500 ตัว ซึ่งสถานที่นี้รองรับได้เพียง 8,000 ตัวเท่านั้น และในแต่ละปี กทม. จะประสบปัญหาความ จากจำนวนสุนัขที่มีอาการป่วยและเป็นอัมพาต

การเคลื่อนไหวของสุนัขเกิดมาจากการทำงานร่วมกันของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกมักจะทำให้สุนัขเดินกะเผลกหรือเจ็บ แต่หากสุนัขไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดแล้ว นั่นอาจหมายถึงภาวะของการเป็นอัมพาต ในสุนัข  สมองและไขสันหลัง เป็นองค์ประกอบหลักในการส่งและเชื่อมต่อสัญญาณของระบบประสาท แต่การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ และการควบคุมที่กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ซึ่งไปควบคุมกล้ามเนื้อมัดต่างๆ หากเกิดความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อระบบประสาทเหล่านี้ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะอัมพาตได้ ซึ่งอาจจะเกิดเพียงแค่ขาข้างเดียว ขาหลังสองข้าง ขาฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือหมดทั้งสี่ขา ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดความผิดปกตของระบบประสาท

สุนัขบางพันธุ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของไขสันหลังได้ง่าย คือ สุนัขในกลุ่ม chondrodystrophoid breed ที่มีลำตัวยาวและใช้ไขสันหลังเป็นจุดหมุนหลักของร่างกายในหลายๆท่า เช่น dachshund และ basset hound ที่มักจะพบโรคของหมอนรองกระดูก (intervertebral disk disease) ได้ง่าย และบางสายพันธุ์ก็เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อน (degenerative myelopathy) เช่น Corgi, Boxer, German Shepherd และ Irish Setterในการ

          ล้อเลื่อนสำหรับสุนัขพิการหรือเป็นอัมพาตที่ขาหลังโดยวัสดุที่ใช้เป็นอะลูมิเนียมที่สามารถรับน้ำหนักตัวสุนัขไม่เกิน 35 กิโลกรัม พร้อมสามารถปรับขนาดตามความยาวของลำตัวได้เพื่อรองรับสรีระที่ต่างกันของสุนัข มีระบบโช๊คเพื่อช่วยรับแรงกระแทก และใช้วัสดุห่อหุ้มที่มีความอ่อนนุ่มเพื่อลดการเสียดสีกับผิวของสุนัขขณะจับบังคับ โดยล้อจะใช้ล้อขนาดเล็กระบบลูกปืนเพราะมีน้ำหนักเบาและลื่น จึงทำให้สุนัขสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกมาขึ้น ป้องกันการบาดเจ๊บของหัวไหล่สุนัข เมื่อใส่ล้อเลื่อนเป็นเวลานาน

นวัตกรรมล้อเลื่อนสำหรับสุนัขพิการหรือเป็นอัมพาตที่ขาหลังได้รับการสนับสนุนการดำเนินจากโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้บรรลุเป้าประสงค์ ไม่มีคนและสัตว์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน และเผยแพร่ความรู้ในงาน Navy Doggie Run 2018 ณ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จังหวัดชลบุรี วันที่ 24-26 กรกฎาคม 2561

ผลงานวิจัยโดย
นายคมสัน สัจจะสถาพร, นางสาวนิตยา ปั้นพันธุ์, นายอัครพันธ์ เอี้ยวรัตนวดี, ผศ.ดร.วุฒินันท์ รักษาจิตร์
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โทร. 08-3242-2598

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6