แพลตฟอร์มหุ่นยนต์สไปเดอร์
แนวคิดของแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สไปเดอร์ เป็นการรวมจุดเด่นของ Cable-driven parallel robots (CDPRs) ที่ใช้โครงสร้างและการ ลงทุนน้อยแต่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง ซึ่งได้ติดตั้งหัวชุดสำหรับทำงานทางการเกษตรแบบอัตโนมัติ ที่ได้ทำการพัฒนามาแล้วบางส่วนจากโครงการหุ่นยนต์สามมิติสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานด้วยความแม่นยำสูง ร่วมกับระบบการตัดสินใจและควบคุมการทำงานด้วยระบบ Machine Vision และ ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยจะเป็นระบบหลักที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานสวนทุเรียน หรืองานพืชสวนที่ต้องอาศัยการค้นหาพิกัดของ วัตถุ เช่น กิ่ง, ก้าน, ใบ, ผล และการแยกแยะวัตถุ กิ่งที่จะตัดแต่ง ใบที่เป็นโรค ผลที่สุกพร้อมเก็บเกี่ยว
แพลตฟอร์มหุ่นยนต์สไปเดอร์ใช้พลังงานในการเคลื่อนที่ต่ำ สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและแม่นยำ มีกลไกชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยและทำงานโดยมึ้นกับสภาพพื้นดิน จึงมีจุดเด่นเหนือกว่าโดรนเกษตร, การเคลื่อนที่ด้วยระบบล้อและระบบรางในการเกษตร
สำหรับสวนไม้ยืนต้นความสูงที่สุด 14 เมตร การตั้งเสาเสาสูง 33 เมตร จะทำให้แพลตฟอร์มหุ่นยนต์สไปเดอร์ 1 unit จะครอบคลุมพื้นที่แปลงขนาด 80×80 เมตร หรือประมาณ 4 ไร่ และสำหรับพืชไร่ที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร การตั้งเสาเสาสูง 33 เมตร จะทำให้แพลตฟอร์มหุ่นยนต์สไปเดอร์ 1 unit จะครอบคลุมพื้นที่แปลงขนาด 80×80 เมตร หรือประมาณ 4 ไร่ 254 x 254 เมตร หรือประมาณ 40 ไร่
ฟังก์ชั่นการทำงาน
1.การให้น้ำและการฉีดพ่นแบบเฉพาะจุดได้อย่างอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยประหยัดสารฉีดพ่น ลดการใช้แรงงาน
2.การใช้แขนกลตัดเก็บพร้อมระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตัดแต่งกิ่ง เก็บเกี่ยวผลไม้, ดอกไม้และพืชผัก อย่างอัตโนมัติ
3.การให้ปุ๋ยเม็ดแบบเฉพาะจุด
4. การกำจัดวัชพืชด้วยการใช้ไฟเผาหรือใช้แสงเลเซอร์
ผลงานวิจัยโดย
1.ผศ. ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา 2. นาย ธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ 3. นาย วัชร แจ่มนุช 4. นาย หนึ่ง
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 08-1927-0098, 08-3030-6609
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ผศ. ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6