ระบบการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน

ระบบการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน เป็นผลงานที่เกิดจากการบูรณาการความรู้เชิงสหวิชาการ ซึ่งเชื่อมโยงความรู้ทางสถานภาพและการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • ด้าน “สิ่งแวดล้อม” ครอบคลุมถึงศักยภาพในเชิงการผลิต ความอุดมสมบูรณ์ และการแพร่กระจายของผลผลิตในแหล่งน้ำ ที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยร่วมทางภูมิสัณฐานวิทยาและนิเวศอุทกวิทยาของระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำ
  • ด้าน “ทรัพยากร” มุ่งเน้นทางชีววิทยา นิเวศวิทยาความเป็นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรปลาชนิดหลักหรือกลุ่มปลาเศรษฐกิจในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ
  • ด้าน “สังคมชุมชน” ครอบคลุมความเข้าใจในโครงสร้างของประชาสังคมในพื้นที่ สถานภาพทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สถานการณ์การใช้ประโยชน์ทางการประมง ตลอดจนสถานภาพในมาตรการทางการประมง และสมรรถนะของชุมชนในการบริหารจัดการร่วม

องค์ความรู้ที่ได้

  1. นิเวศอุทกวิทยา ความเป็นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำ
  2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำที่มีศักยภาพในการเป็นปัจจัยเหนี่ยวนำต่อระบบการผลิตทรัพยากรและการเกิดทดแทนที่ของสัตว์น้ำในระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำ
  3. แนวทางการขับเคลื่อนสมรรถนะของสังคมและชุมชน เพื่อการบริหารจัดการร่วมอย่างมีประสิทธิผล
  4. แนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางนิเวศอุทกวิทยาเชิงประจักษ์ สำหรับให้ทางภาครัฐ (กรมประมง) ได้ใช้ในการตัดสินใจกำหนดมาตรการด้านพื้นที่และระยะเวลาในการห้ามทำประมงในช่วงฤดูน้ำแดง
  5. กลยุทธ์ในการกำหนดมาตรการ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศ   อ่างเก็บน้ำในภาพรวมของประเทศให้เกิดอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน 

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
รศ.ดร.จารุมาศ เมฆสัมพันธ์ และคณะ
ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 097-923-4907 E-mail: ffiscmc@ku.ac.th

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th