คาร์บอนรูพรุนจากดอกดาวเรืองเหลือทิ้ง

คาร์บอนรูพรุนสามารถสังเคราะห์จากดอกดาวเรืองเหลือทิ้งด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชัน ร่วมกับการกระตุ้นทางเคมีเพื่อประยุกต์ใช้เป็นวัสดุขั้วไฟฟ้าในตัวเก็บประจุยิ่งยวด พบว่าระยะเวลาการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันที่เพิ่มขึ้น (2-24 ชั่วโมง) ส่งผลให้คาร์บอนมีลักษณะพื้นที่ผิวที่ขรุขระและเกิดรูพรูนมากขึ้น เนื่องจากการสลายตัวของโครงสร้างลิกโนซลลูโลส และเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวและรูพรุนระดับนาโนจึงได้ทำการกระตุ้นทางเคมีด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) คาร์บอนที่ถูกกระตุ้นมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาคล้ายฟองน้ำพื้นที่ผิวสูงและรูพรุนในระดับนาโน และมีคุณสมบัติในการกักเก็บประจุไฟฟ้าได้ดี

จุดแด่นของคาร์บอนรูพรุนจากดอกดาวเรืองเหลือทิ้ง

  • มีพื้นที่ผิวสูงและขนาดรูพรุนระดับนาโน
  • เก็บประจุไฟฟ้าได้ดี
  • มีศักยภาพใช้เป็นขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวด และสามารถนำไปใช้งานด้านพลังงานต่างๆ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ผศ.ดร.กษิดิศ พนมสุวรรณ
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-797-0999 E-mail: gasidit.p@ku.ac.th

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th