“KU-Fish glue stick” กาวแท่งจากหนังของปลา

กาวจากปลา (Fish glue) คือ สารจากธรรมชาติประเภทโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการยึดติดวัสดุเข้าด้วยกัน ผลิตได้จากหนังและกระดูกของปลาที่เป็นเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูป โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นคอลลาเจนหรือเจลาติน อยู่ในรูปของเหลวหรือกึ่งของเหลว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น งานกระดาษ งานไม้ งานในครัวเรือน อุตสาหกรรมเครื่องหนัง งานเคลือบที่ต้องการความโปร่งใสบนวัสดุ

จากการศึกษาเรื่องชนิดปลาที่เหมาะสมสำหรับนำมาผลิตเป็นกาวพบว่า ปลานวลจันทร์ทะเล  เป็นปลาที่มีความเหมาะสมในการผลิตกาว สามารถผลิตติดผนึกวัสดุกระดาษ ไม้ และโฟมได้ โดยการทีคุณสมบัติทางเคมีได้แก่ ไขมัน เก้า โปรตีน ความชื้น คาร์โบไฮเดรต PH และความหนืด ซึ่งในงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอการใช้ประโยชน์ของกาวจากหนังปลา ซึ่งการใช้ประโยชน์จากกาวชีวะ อาจแปรรูปโดยแนวคิดที่เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้เป็นกาวอุตสาหกรรมอาหาร อย่างภาชนะบรรจุอาหาร หรือติดวัสดุที่กินได้เพื่อตกแต่งอาหารให้สวยงามในรูปแบบต่างๆ

การผลิตกาวแท่งเพื่อใช้ทําผลิตภัณฑ์ให้เป็นวัสดุยึดติดวัสดุทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน เช่น กระดาษ การซ่อมแซมอุปกรณ์ในเครื่องดนตรีบางชนิดที่มาจากไม้ เป็นต้น ช่วยลดภาวะมลพิษที่เกิดจากการสร้างของเสียจากอุตสาหกรรม สารเคมี ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความสะดวกต่อการใช้ การประดิษฐ์เป็นแท่งที่มีขนาด เล็กทําให้ง่ายในการพกพา การใช้เนื้อที่น้อยในการเก็บสินค้าก่อนใช้ มีความคงตัวที่อุณหภูมิห้อง และการใช้กาว ปริมาณน้อยเพื่อทําให้วัสดุเช่นกระดาษติดกัน มีความสามาถติดวัสดุได้หลากหลายเรียงจากความสามารถสูงไปต่ำ คือ กระดาษ ผ้า ไม้ และพลาสติกและโฟม

ซึ่งกาวแท่งจากหนังปลา ประดิษฐ์จากกาวหนังปลาขึ้นรูปทรงเป็นแท่ง มีลักษณะเป็นของกึ่งแข็ง ใช้ติดกระดาษ ในลักษณะ Glue-Stick ทำเป็นแท่งขนาดเล็ก มีความสะดวกต่อการใช้และง่ายต่อการพกพา ใช้ประโยชน์เพื่อทดแทนการสร้างกาวจากการใช้สารเคมี ลดภาวะมลพิษที่เกิดจากการสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมเคมี ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นทางเลือก การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ มาใช้ทดแทนสารเคมี และลดมลพิษด้านต่างๆ ที่มาจากสารเคมี เป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากกระบวนการผลิตในการแปรรูปทางประมง ส่งผลให้ลดขยะและภาวะมลพิษที่เกิดจากการแปรรูปทางการประมง การประดิษฐ์นี้เป็นผลงานที่จดอนุสิทธิบัตรแล้ว ตามเลขที่อนุสิทธิบัตร 19021

 

ผลงานวิจัยโดย
รศ.ดร.กังสดาลย์  บุญปราบ
ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง  คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โทร. 0-2942-8644

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
รศ.ดร.กังสดาลย์  บุญปราบ

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม  https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6