หอยอำแพง หอยจิ๋วชนิดใหม่ของโลก

ผู้ร่วมค้นพบ

อาจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายชาติชาย สุขเสริม นายวงศ์เวชช เชาวน์ชูเวชช และนางสาวธนพร จิตรพันธ์ (นิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ ดร.ดวงฤทัย แสแสงสีรุ้ง คุณพรรณิภา แซ่เทียน และ คุณอดุลย์วิทย์ กาวีระ กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี

อ้างอิง: Ketwetsuriya C. & Dumrongrojwattana P. (2021). A new microgastropod species, , (Gastropoda: Heterobranchia: Orbitestellidae) from bangkok clay of Samut Sakorn Province,Thailand. Raffles Bulletin of Zoology 69, 304-308.

“หอยอำเพง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orbitestella amphaengensis Ketwetsuriya & Dumrongrojwattana, 2021 เป็นหอยในสกุล Orbitestella ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นหอยฝาเดียวในวงศ์ Orbitestellidae ที่ถูกรายงานว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบ คือ ตำบลอำแพง จังหวัดสมุทรสาคร

ลักษณะของหอยอำแพง
  • เป็นหอยฝาเดียวที่มีเปลือกขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร
  • มีการขดในแนวระนาบ รูปร่างแบน
  • ลักษณะเด่นคือการเรียงตัวของสัน เป็นลวดลายอยู่บนผิวเปลือกที่มีความสวยงาม แตกต่างจากหอยชนิดอื่นๆในสกุลเดียวกันอย่างชัดเจน

ซากหอยอำแพงนี้ไม่ใช่หอยที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ค้นพบในชั้นดินลึกลงไปประมาณ 8 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางในพื้นที่ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ห่างจากชายฝั่งทะเลสมุทรสาครประมาณ 12 กิโลเมตร พบร่วมกับโครงกระดูกวาฬที่มีอายุกว่า 3,380 ปี รวมทั้งซากหอยอื่นๆ อีกมากกว่า 30 ชนิด ที่อาศัยอยู่ในแนวชายฝั่งและทะเล

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
อาจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา และคณะ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-562-5555 E-mail: fscicek@ku.ac.th

เรียบเรียงโดย
น.ส.ทิสยา ทิศเสถียร
ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.
E-mail: rdityt@ku.ac.th