ชุดปลูกผัก LED ติดแอร์พลังงานจากเซลส์สุริยะ
พืชผักในประเทศไทยในปัจจุบัน ยังคงประสบปัญหาในเรื่องสารกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในพืชผักส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นหากผู้บริโภคสามารถปลูกผักรับประทานเองก็จะบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ในสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองมากขึ้นการหาพื้นที่ปลูกผักรับประทานเองเป็นเรื่องยุ่งยาก ซึ่งชุดปลูกผักติดแอร์ด้วยแสง LED ระบบอัตโนมัติจึงตอบโจทย์สาหรับปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี
โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดสร้างชุดปลูกผักติดแอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเซลส์แสงอาทิตย์
2. เพื่อช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชในผัก
3. เพื่อทดสอบการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกในชุดปลูกผักติดแอร์ด้วยพลังงานจากเซลส์แสงอาทิตย์
ซึ่งนวัตกรรมชุดปลูกผักติดแอร์ฯ ใช้แหล่งพลังงานจากเซลส์แสงอาทิตย์ร่วมกับกระแสไฟฟ้าจากสายส่ง โดยติดตั้งระบบทาความเย็นไว้ภายในตู้โครงสร้างโลหะที่บรรจุดชุดปลูกมีไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งระบบปลูกนี้จะใช้สารละลายธาตุอาหารAB สูตร Kmitl เพื่อศึกษาข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตและข้อมูลการเจริญเติบโต ของผักคะน้า ที่ปลูกในชุดต้นแบบฯ ภายใต้แสง LED ที่มีระดับความเข้มแสง 60, 90, 120 และ 150 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ภายใต้ชุดปลูกย่อยขนาด 1.5 ตารางเมตร ต่อ 1 ซ้ำ การจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติ พบค่า LAI, CGR, ความกว้างใบ, ความยาวใบ น้าหนักแห้ง และน้ำหนักสด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ แต่พบว่าจำนวนใบมีค่าความแตกต่างกันทางสถิติ
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ จึงอาจสรุปได้ว่า ความเข้มแสงที่ใช้อาจเหมาะสมกับการปลูกพืชผักที่ขายใบเป็นการค้า มากกว่าการใช้สาหรับการปลูกพืชผักเพื่อเก็บผลผลิตสด แต่ถึงอย่างไรก็ตามการทดลองวิจัยนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นในการทดสอบความเข้มแสงยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมปัจจัยที่เกี่ยว ข้องอื่นๆ อีก เช่น ชนิดของวัสดุแหล่งกำเนิดแสง สีของแสง ขนาดของรางปลูก อุณหภูมิ สิ่งแวดล้อม หรือ สารละลายธาตุอาหาร เป็นต้น ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชทั้งสิ้น และจากผลประเมินค่า Economic Pathway พบว่าระบบปลูกนี้สามารถไปต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ แต่ยังคงต้องศึกษา พัฒนาต่อยอด ในอีกหลายมิติในอนาคต
ผลงานวิจัยโดย
ศรันย์ หงษาครประเสริฐ
สถานีวิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 06-4065-4197
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ศรันย์ หงษาครประเสริฐ
✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6