เต้านมเทียม ( Model of breast cow )

เนื่องจากในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมประสบปัญหา ลูกโคนมท้องเสียจากองศาการกินนมที่ไม่ถูกต้อง คือก้มคอกินนมจากถังนมที่เกษตรกรจัดเตรียมไว้ให้ การท้องเสียของลูกโคนมนั้นทำให้การเติบโตของลูกโคไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่คาดไว้และส่งผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงโคนมเพื่อผลผลิต จากปัญหาที่กล่าวมาจึงเป็นเหตุผลที่เรานำมาศึกษาและคิดประดิษฐ์คิดค้นเต้านมเทียมขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการท้องเสียที่เกิดจากการกินนมผิดองศาของลูกโคนมและเพื่อความสะดวกสบายในการป้อนนมแก่ลูกโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

ประโยชน์ของ “เต้านมเทียม”

  1. แก้ไขปัญหาอาการท้องเสียที่เกิดจากการกินนมผิดองศาของลูกโคนม
  2. เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการป้อนนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
  3. เพื่อให้ลูกโคนมได้เติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานที่คาดหวังไว้

 กระบวณการผลิต “เต้านมเทียม” 

ออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการและสรีระของลูกโคนมในการกินนม ส่วนประกอบหลักในการผลิต “เต้านมเทียม”

  1. เหล็กสำหรับทำโครงสร้าง
  2. ถังสแตนเลส
  3. จุกนมเทียม

 

คุณสมบัติของ “เต้านมเทียม”

สามารถตั้งนวัตกรรมไว้ เพื่อให้ลูกโคกินนมแบบไม่ผิดองศาซึ่งเป็นปัจจัยนึงในการทำให้เกิดอาการท้องเสียในลูกโคนม และเกษตรกรจะได้ไม่เสียเวลาในการป้อนนมลูกโค

อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.น.สพ.ดร.สมัคร สุจริต
ผู้ประดิษฐ์

  1. นายนำโชค อายยืน
  2. นายรัฐนันท์ เดชไธสง
  3. นายพีรวิชญ์ สัมพะวงศ์
  4. นางสาวปิยาภา ปราบเสียง
  5. นางสาวกาญจนาพร จิวะราพงศ์
  6. นางสาวรวีรดา เมฆทวีภูมิ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 08-2620-8508

✍ ผลิตสื่อโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย
🌟 แนะนำ/ติชม https://forms.gle/e3MzPqrb2V9QE9Tp6